กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในตำบลมะนังยง ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในตำบลมะนังยง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนัง

หมู่ที่ 1 , 3 , 4 และ 5 ตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

8.15
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

20.00
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง

 

0.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

 

31.03

ปัญหาโรคเรื้อรังในปัจจุบัน เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งรวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางโรคเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นและมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจาก ปัญหาครอบครัวและสังคม จากสถิติของจังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2565 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 186,235 ราย ,199,933 ราย พบมีเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 13,828 ราย , 35,106 ราย สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 6,578 ราย , 1,980 ราย ตามลำดับ พบอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตที่ขาดความสมดุล เช่น สัดส่วนของอาหารที่รับประทานเปลี่ยนแปลง โดยอาจรับประทานอาหารประเภทเค็มจัด หรือหวานจัด และมีปริมาณไขมันมากเกินไป มีการออกกำลังกายลดลง มีภาวะเครียดจากสาเหตุต่างๆ การนอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา รวมทั้งปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ซึ่งสาเหตุดังที่กล่าวมา ทำให้ส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง ได้ให้บริการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น ปี 2566 พบว่าประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 1,229 ราย , 1,521 ราย พบมีเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 128 ราย , 108 ราย สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 118ราย , 16 ราย ตามลำดับ พบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนเพิ่มขึ้น และปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น แต่ระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคม ภายหลังการรักษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อน เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลมะนังยง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการสร้างกระบวนการเรียนรู เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

8.15 6.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

20.00 18.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานแก่ทีมงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานแก่ทีมงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานแก่ทีมงาน จนท.อสม แกนนำ ผู้ใหญ่บ้าน ผุ้นำศาสนา กลุ่มแม่บ้านจำนวน 40 คน - ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,400บาท

รวมเป็นเงิน 1,400บาทน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 7 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม -รายงานการประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 80 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น

ค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35บาทจำนวน 2 มื้อ x 2 รุ่น เป็นเงิน 5,600บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ x 2 รุ่น เป็นเงิน 4,000บาท
- ค่าไวนิล ขนาด 1.25 X 2.4 เมตร (ตร.เมตรละ 250 บาท) จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน750บาท
- ค่าวิทยากร 600 x 6ชั่วโมง x 2 รุ่น =7,200 บาท

เป็นเงิน 17,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กรกฎาคม 2566 ถึง 21 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยน
  2. ผลการประเมินความรู้หลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ฯ
  3. ผลการประเมินความพึงพอใจหลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ฯ
  4. ผลการประเมินทักษะการใช้คู่มือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17550.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเสี่ยงโดยทีมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงโดยทีมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยงโดยทีมงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 80 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น โดยติดตาม 1 ครั้งหลังจากดำเนินกิจกรรมไป 2-3 เดือน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 35 บาท จำนวน 1 มื้อ x 2 รุ่นเป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2566 ถึง 21 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จำนวนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเปลี่ยนเป็นกลุ่มปกติ 2.จำนวนกลุ่มเสี่ยงความดันเปลี่ยนเป็นกลุ่มปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถลดผู้ป่วยรายใหม่ของโรคเรืังรังได้
2.สามารถสร้างบุคคลต้นแบบเพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


>