กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นายสมนึกอาดตันตรา
นางอัจฉรายาประจันทร์
นางสาวเสาวลักษณ์ลิ่มศรีพุทธิ์

ม๑ -ม๗ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เพราะมีเชื้อโรคและพาหะนำโรคที่บ่งบอกชัดเจน สามารถกำจัดได้โดยง่าย แต่ขณะเดียวกันหากไม่มีการป้องกันและควบคุม จะเกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็ว และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โรคติดต่อที่กระจายในพื้นที่ตำบลแป-ระ ได้แก่โรคไข้เลือดออก โรคอีสุกอีใสโรค มือ เท้าปากเปื่อย โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง เป็นประจำทุกปี การดำเนินงานโรคติดต่อที่มีผลการดำเนินการควบคุมอย่างประสิทธิผล คือการสร้างความตระหนักให้ประชาชนทุกคนเห็นเป็นหน้าที่ของตนในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกในตำบลแป-ระ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแก้ไขปัญหาต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทันสถานการณ์ เป็นตำบลที่มีการจัดการโรคไข้เลือดออกที่เข้มแข็ง
สถานการณ์ปีที่ผ่านมาในตำบลแป-ระ พบผู้ป่วยจำนวน9ราย อัตราป่วยเท่ากับ 134.38 ต่อแสนประชากรกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขไม่เกิน20 ต่อแสนประชากร และ
ณปัจจุบันได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลท่าแพ มีผู้ป่วย ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2565 – ตุลาคม 2565 จำนวน9 รายซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังจากทุกภาคส่วนอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ในปีงบประมาณ 2566 กองสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ เป็นภารกิจหลักที่ต้องทำเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลแป-ระปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากโรคติดต่อจึงมีความจำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้ดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อ ตำบลแป-ระมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ ในการนี้ กองสาธารณสุขฯ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ จึงได้จัดทำโครงการพ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออก ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการควบคุม โรคติดต่อ

 

0.00
2 2 เพื่อควบคุมโรคติดต่อที่ระบาดในพื้นที่อย่างทันท่วงที

 

0.00
3 3 เพื่อให้มีการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำ โรคอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
4 4 เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 

0.00

1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคติดต่อ
2 เพื่อควบคุมโรคติดต่อที่ระบาดในพื้นที่อย่างทันท่วงที
3 เพื่อให้มีการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคอย่างต่อเนื่อง
4 เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พ่นหมอกควันหลังคาเรือนที่พบผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันหลังคาเรือนที่พบผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนหลังละ ๑๕๐ บาท (รัศมี 1๐๐ เมตร) จำนวน ๑๐๐ หลัง เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐ บาๅ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดการระบาดหลังคาเรือนใกล้เคียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคติดต่อเพิ่มมากขึ้น
2. สามารถควบคุมโรคติดต่อที่ระบาดในพื้นที่อย่างทันท่วงที
3. ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก


>