กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ 4 บ้านรือเสาะ

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ 4 บ้านรือเสาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลรือเสาะ /ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลรือเสาะ

1.นายสมานแซดอซา ตำแหน่ง ประธานอสม.หมู่ 4
2.นางสาวฮาซือมัสมูเดาะมาตี ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4
3.นางสาวรุสน๊ะเว้งสีลา ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4
4.นายมะดามิง เหเล๊าะ ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4
5.นางสาวปาตีเม๊าะเจ๊ะโซ๊ะ ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 4

ชุมชนหมู่ 4 บ้านรือเสาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

 

1.00

หลัหการและเหตุผล
การเยี่ยมบ้านกลุ่มคนพิการผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านเป็นการบริการด้านสุขภาพในเชิงรุกอีกวิธีหนึ่งเป็นกลวิธีที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในยุคปัจจุบันในปัจจุบันมีกลุ่มผู้พิการผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียงเป็นจำนวนมากตำบลรือเสาะเป็นชุมชนใหญ่มีผู้พิการผู้สูงอายุผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียงจำนวน8 รายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และผู้ป่วยติดบ้านจำนวน 22 คนรวมทั้งหมด 30 คนซึ่งเป็นปัญหาในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจการเยี่ยมบ้านเป็นการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมกับวิถีของชุมชนการเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นการประเมินสุขภาพของประชาชนและการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวบุคคลและการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนของการที่เกิดโรคขึ้นมาใหม่และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจด้วย ผู้ป่วยนอนติดเตียงส่วนใหญ่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีแนวโน้มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น บางรายมีแผลกดทับบางรายต้องให้อาหารทางสายยาง การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้านจึงต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความสะอาดสะดวกปลอดภัย กับผู้ป่วย เป้าหมายสูงสุดต้องมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีสมเกียรติมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลรือเสาะจึงมีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการสวัสดิการทางสังคมโดยการออกเยี่ยมบ้านและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านกลุ่มผู้ป่วยต่าง ๆ ในตำบลรือเสาะ และได้เล็งเห็นว่าหากผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้มีทักษะการดูแลผู้ป่วยโดยการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง และได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้องต่อเนื่องผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขและเสียชีวิตอย่างมีคุณค่าจึงได้จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ 4 บ้านรือเสาะขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนอนติดเตียง (Home Ward / Home Care) และเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ดูแลมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่ออบรมเสริมความรู้เพิ่มพูนทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงติดบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผุ้สูงอายุในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
  1. เพื่อเสริมความรู้เพิ่มพูนทักษะผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงติดบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องร้อยละ 100
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 29
กลุ่มผู้สูงอายุ 12
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 12
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 7
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อยที่1 การจัดอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุเชิงปฏิบัติการในเรื่องของการทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่1 การจัดอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุเชิงปฏิบัติการในเรื่องของการทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อยที่1 การจัดอบรมผู้ดูแลผู้ติดเตียง ติดบ้าน ผู้ป่วยเรื้อรังและ ผู้สูงอายุเชิงปฏิบัติการในเรื่องของการทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน
-ค่าอาหารกลางวัน ( 60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ ) เป็นเงิน3,600 บาท -ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง ( 60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ)เป็นเงิน3,600 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 1 ชม.x 1วัน เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุสำนักงาน (สมุดบันทึก,ปากกา ฯลฯ)
ค่าสมุด60 คน x 10 บาท = 600 บาท ค่าปากกา 60 คน x 5 บาท = 300บาท ค่าประเป๋าเอกสาร60 คน x 60 บาท = 3,600 บาท เป็นเงิน4,500 บาท -ค่าไวนิล800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1.ผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยได้
8.2 ผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านมีความรู้เรื่องการทำกายภาพบำบัดและการดูแลตนเองมากขึ้น
8.3 ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านมีความรู้ในการทำกายภาพบำบัดและมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านอย่างถูกวิธีมากขึ้น
8.4 ผู้ป่วยติดเตียงติดบ้านได้รับการเยี่ยมและส่งเสริมสุขภาพทุกคน
8.5 ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ได้รับการส่งเสริมป้องกันรักษาและฟื้นฟูสุขภาพได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องทุกคน


>