กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนบ้านนาดาใส่ใจติดตามแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กอายุ 0 - 5 ปี หมู่ 3 บ้านนาดา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบ้านนาดาใส่ใจติดตามแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กอายุ 0 - 5 ปี หมู่ 3 บ้านนาดา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลรือเสาะ /ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลรือเสาะ

1.นายมามะสาและ ตำแหน่ง ประธานอสม.หมู่ 3
2.นางการีหม๊ะยูโซ๊ะ ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 3
3.นางคอลีเย๊าะยามา ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 3
4.นางสาวซัลวานีนิเดร์ ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 3
5.นางรอฮานา ยูโซ๊ะ ตำแหน่ง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ 3

ชุมชนหมู่ 3 บ้านนาดา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงอายุ 0– 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว เด็กในวัยนี้จะต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการ การดูแลเอาใจใส่ ความมั่นคงปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องและจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี เดือน จะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลรือเสาะในช่วงปีที่ผ่านมา มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์30คน จากเด็กทั้งหมด250คนคิดเป็นร้อยละ 8.57 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ 22 คนคิดเป็นร้อยละ6.28
อสม.หมู่ 3บ้านนาดาจึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อการติดตามและดูแลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็ก 0 - 5 ปี มีภาวะโภชนาการสมส่วนตามเกณฑ์

1.เด็ก 0 – 5 ปี เดือนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลรือเสาะได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงตามเกณฑ์ร้อยละ 90

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อยที่ 1 การจัดประชุมอบรมปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก (โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรือเสาะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อยที่ 1 การจัดประชุมอบรมปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก (โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรือเสาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อยที่ 1 การจัดประชุมอบรมปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก (โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรือเสาะ) -ค่าอาหารกลางวัน (40 คน x 60 บาท x 1 มื้อ) เป็นเงิน 2,400บาท
-ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง (40 คน x 30 บาท x 2 มื้อ ) เป็นเงิน 2,400บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชม. x 1วัน เป็นเงิน3,600บาท -ค่าวัสดุสำนักงาน (สมุดบันทึก,ปากกา ฯลฯ) ค่าสมุด40 คน x 10 บาท = 400 บาท ค่าปากกา 40 คน x 5 บาท = 200บาท ค่าประเป๋าเอกสาร40 คน x 60 บาท = 2,400 บาท -ค่าไวนิล800 บาท รวมเป็นเงิน 12,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เจ้าหน้าที่อสม.และผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตามกลุ่มวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 2 1.2 กิจกรรมย่อยที่ 2 ติดตามและชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชนที่มีปัญหาทุพโภชนาการโดยเจ้าหน้าที่ อสม.ในเขตโรงพยาบาลรือเสาะ

ชื่อกิจกรรม
1.2 กิจกรรมย่อยที่ 2 ติดตามและชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชนที่มีปัญหาทุพโภชนาการโดยเจ้าหน้าที่ อสม.ในเขตโรงพยาบาลรือเสาะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.2 กิจกรรมย่อยที่ 2ติดตามและชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ -ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง ( 30 คน x 30 บาท x 1 มื้อ)เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กอายุ 0 - 5ปีที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้รับการชั่งหนักตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมแก่เด็ก
8.2 เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย
8.3 เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
8.2 ผู้ปกครองเด็กและเจ้าหน้าที่ทราบถึงปัญหาที่ทำให้เด็กขาดสารอาหารและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน
8.5 เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย


>