กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กมูโนะใส่ใจสุขภาพ จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

1. นายสันต์พรมสร โทร 081-9598691
2. นางสาวพัชรภรณ์ แก้วมรกต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีสุขภาพที่ดี ถือเป็นลักษณะอันพึงประสงค์ประการแรกของคนไทย แต่ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาสุขภาพและการสาธารณสุขได้เปลี่ยนไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้สาเหตุเนื่องจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของบุคคลตลอดจนปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งทางกายและสังคม ซึ่งนับวันแนวโน้มของปัญหาเหล่านี้ย่อมมีความรุนแรงขึ้นในเบื้องต้นเพื่อเด็กได้มีสุขนิสัย ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการวางรากฐานด้านสุขภาพให้เข้มแข็งด้วยการเตรียมความพร้อมป้องกันปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเริ่ม สามารถเผชิญกับปัญหาและสภาวการณ์ที่คุกคามต่อสุขภาพได้ ประกอบกับในภาครัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเด็ก ได้กำหนดให้มีการจัดการงานวันเด็กแห่งชาติเป็นประจำทุกปี ได้กำหนดให้วันเสาร์ที่ 2 ของเดือน มกราคม ของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ โดยมีคณะกรรมการการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติและคณะอนุกรรมการหลายฝ่ายเกี่ยวข้องร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนได้รับความรู้ ส่งเสริมทักษะเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ชุมชนสิ่งแวดล้อม ตลอดจนได้รับการบริการด้านสุขภาพ รวมทั้ง การเล่นเกมส์ต่างๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กในชาติให้มั่นคงต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพของเด็ก จึงจัดโครงการ "เด็กมูโนะใส่ใจสุขภาพ จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง ปี 2566" ขึ้น เพื่อให้เด็กในเขตรับผิดชอบได้ร่วมกิจกรรมอย่างถั่วถึง ได้รับความรู้ การเสริมทักษะด้านต่างๆในการดูแลสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ ทั้งในส่วนบุคคลและสังคมส่วนรวม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0 - 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย

ร้อยละเด็ก 0-12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย

0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0 - 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ร้อยละเด็ก 0-12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

0.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ร้อยละผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 400
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ปัญหาสุขภาพทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ปัญหาสุขภาพทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็ก
  2. จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็ก เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ชุมชนและหน่วยงานราชการ ต่างๆ ในพื้นที่ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก
  4. ร่วมจัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ดังนี้ 4.1 จัดบอร์ดให้ความรู้และรณรงค์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเด็กและผู้ปกครอง 4.2 จัดให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพทั่วไป ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงพร้อมประเมินผลภาวะโภชนาการและตรวจสุขภาพช่องปาก เป็นต้น 4.3 จัดกิจกรรม โดยเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมมากที่สุด ได้แก่ ให้ความรู้ด้านสุขภาพพร้อมเล่นเกมส์ตอบคำถาม การเล่นเกมส์ต่าง ๆ ฯลฯ
  5. สรุปผลการดำเนินงาน

รายละเอียดงบประมาณ จากกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัด นราธิวาส จำนวน 40,900 บาท (สี่หมื่นเก้าร้อยบาทถ้วน) ตามรายละเอียดดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม มื้อละ 25 บาท x 1 มื้อ x 400 คน เป็นเงิน 10,000 บาท 2. ค่าวัสดุสำนักงานอุปกรณ์ทำสื่อและกิจกรรมสันทนาการ เป็นเงิน 15,000 บาท 3. ค่าป้ายไวนิลขนาด 4 เมตร x 2 เมตร x 1 ผืน ผืนละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 4. ค่าแปรงสีฟันเด็กอันละ 30 บาท x 400 อัน เป็นเงิน 12,000 บาท 5. ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท x 1 คน เป็นเงิน 900 บาท 6. ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก 0 - 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย ร้อยละ 80
  2. เด็ก 0 - 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80
  3. ผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0 - 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกาย ร้อยละ 80
2. เด็ก 0 - 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80
3. ผู้ปกครองเด็กได้รับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80


>