กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี

หมู่ที่ 2,3 และหมูที่ 11ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับต้น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอด โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และการถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่พบบ่อยที่สุด คือ การบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มเป็นหลัก สาเหตุ คือ ความเคยชิน ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งการรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่อง ขาดยา ไม่ไปพบแพทย์ตามนัด สูบบุหรี่และไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีความเครียดจากโรคที่เป็น ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตสูงได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ให้สามารถควบคุมและป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านฝาละมี มีผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ปี 2563-2565 จำนวน 240 ราย 389 ราย และ 363 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปี 2563-2565 จำนวน 160 ราย 185 ราย และ 121 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2563-2565 จำนวน 40 ราย 45 ราย และ 82 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคไต ปี 2563-2565 จำนวน 71 ราย 68 ราย และ 46 ราย ตามลำดับ และมีผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ปี 2565 จำนวน 13 ราย อีกทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมารับการตรวจรักษาและรับยาที่ รพ.สต.บ้านฝาละมี จำนวน 80 ราย/เดือน (ในวันคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน รพ.สต.บ้านฝาละมี ให้ความสำคัญและตระหนักในการดูแลสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ รพ.สต.บ้านฝาละมี จึงได้จัดทำโครงการสถานีสุขภาพสัญจร ปลอดโรค Stroke ไตวาย และหัวใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค อาการแสดง การปฏิบัติตัวและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ80

45.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง/เบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

60.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีระดับระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ 50

38.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 250
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/11/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สถานีที่ 1 คัดกรองสุขภาพ ทราบสถานะสุขภาพโดย Application

ชื่อกิจกรรม
สถานีที่ 1 คัดกรองสุขภาพ ทราบสถานะสุขภาพโดย Application
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-คัดกรองสุขภาพโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิตสูง เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ประเมิน CVD Risk และคัดกรองบุหรี่ พร้อมทราบสถานะสุขภาพ โดย Application
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ x 30 บาท x 50 คน x 3 หมู่บ้าน เป็นเงิน 4,500 บาท

2.ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม 6 สถานี 3 คน x 300 บาท x 2 ชม. x 3 หมู่บ้าน เป็นเงิน 5,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

กิจกรรมที่ 2 สถานีที่ 2 เตือนภัยโรคร้ายใกล้ตัว

ชื่อกิจกรรม
สถานีที่ 2 เตือนภัยโรคร้ายใกล้ตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 09.00-11.30 น. อบรมให้ความรู้โดย พยาบาลเฉพาะทางสาขาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต
งบประมาณ
1.ค่าจัดทำป้ายไวนิลความรู้ ประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 3 ป้าย ขนาด 1X 3 เมตร ป้ายละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

2.ค่าจัดทำป้ายสติกเกอร์ อาการเตือนภัย โรคร้ายใกล้ตัว เป็นเงิน 2,200 บาท

3.ค่าจ้างจัดทำเส้นทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 3 ป้าย ขนาด 1X 3 เมตร ป้ายละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค อาการแสดง การปฏิบัติตัวและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5800.00

กิจกรรมที่ 3 สถานีที่ 3 อาหารเฉพาะโรค (ลดหวาน มัน เค็ม)

ชื่อกิจกรรม
สถานีที่ 3 อาหารเฉพาะโรค (ลดหวาน มัน เค็ม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เวลา 09.00-12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาหารเฉพาะโรค (ลดหวาน มัน เค็ม)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยหรือญาติ มีความรู้ที่ถูกต้องในการรับประทาน อาหารที่ถูกต้อง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สถานีที่ 4 ยาสมุนไพรใคร่รู้

ชื่อกิจกรรม
สถานีที่ 4 ยาสมุนไพรใคร่รู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เวลา 09.00-10.30 น.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ยาเฉพาะโรคที่ถูกวิธี ผลข้างเคียง และการใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  • เวลา 10.30-12.00 น.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ยาสมุนไพรที่ถูกต้องและผลข้างเคียงจากการใช้ยาสมุนไพร

  • งบประมาณ

  1. ค่าจัดทำป้ายความรู้ การใช้ยาสมุนไพร พืชผัก ลดโรคเรื้อรัง จำนวน 3 ป้าย ขนาด 1X 3 เมตร ป้ายละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  2. ค่าจัดทำถุงผ้าสำหรับเติมยา แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 120 ชุดๆ 50 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยหรือญาติ มีความรู้ที่ถูกต้องในการกินยา และ มีความรู้เรื่องการใช้ยาสมุนไพร ที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 5 สถานีที่ 5 ออกกำลังกายสู้โรค

ชื่อกิจกรรม
สถานีที่ 5 ออกกำลังกายสู้โรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 09.00-12.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค โดยนักกายภาพบำบัด/แพทย์แผนไทย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สถานีที่ 6 วัดใจลดเครียด เลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
สถานีที่ 6 วัดใจลดเครียด เลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 09.00-12.00 น. คัดกรองความเครียดและสอนการเลิกบุหรี่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยทุกราย ได้รับคัดกรองความเครียดและสอนการเลิกบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
2.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้


>