กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสาชุมชนพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล

1. น.ส.อุษณามรรคาเขต โทรศัพท์0896532553
2. น.ส.ฟารีซา เจะมะ
3. น.ส.อภิชญาหิมมา

ห้องประชุมกิจกรรมนันทนาการและสระว่ายน้ำ ศูนย์วิทยาศาตร์การกีฬา เทศบาลเมืองสตูลจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้กำหนดให้การลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญในแผนงานการป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพซึ่งจะช่วยส่งผลให้อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy : LE) ไม่น้อยกว่า 75 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี (HealthAdjusted LifeExpectancy : HALE) ไม่น้อยกว่า 75 ปี โดยได้กำหนดเป้าหมายการลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2565) ให้มีอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.5 ต่อประชากรเด็กแสนคนและระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3.5 ต่อประกรเด็กแสนคน (ประมาณ 370 คน) ภายในปี 2570ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นในปี พ.ศ. 2565 ในช่วง 8 เดือน (เดือนมกราคม – สิงหาคม 2565)พบว่า มีเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากถึง 475 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 14.0 (เดือนมกราคม – สิงหาคม 2564จำนวน408 คน) และจังหวัดสตูลมีประชากรเด็กเฉลี่ย 3 ปี (พ.ศ. 2559- 2561) จำนวน75,448รายพบอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยร้อยละ 10.2 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในเด็กกลุ่มงานเวชกรรมสังคมจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสาชุมชนพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างทีมอาสาสมัครผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในชุมชน และผ่านการอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ

สร้างทีมอาสาสมัครผู้ก่อการดี (Merit Maker) ชุมชนพิมานจำนวน 2 ทีม

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่เกิน 2.5 คน/แสนประชากร

0.00

1. เพื่อสร้างทีมอาสาสมัครผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในชุมชน และผ่านการอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ
2. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ 70 บาท x 30 คนx 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่25 บาท x 30 คน x 2 มื้อเป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าธรรมเนียมเช่าสระว่ายน้ำเทศบาลเมืองสตูล เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าวิทยากรจากมูลนิธิร่มไทร 300 บาท x 4 คน x 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าเกียรติบัตร 30 บาท x 20 ใบ เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม (กระดาษ,ปากกา,) เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ (ป้ายไวนิล, ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (1.20 เมตร x 2.40 เมตร ))เป็นเงิน 432 บาท
    กำหนดการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
    เวลา 07.30 - 08.00 น. ลงทะเบียน (ห้องประชุมประกายเพชร รพ.สตูล)
    เวลา 08.00 - 08.30 น. เปิดการประชุมพัฒนาศักยภาพแกนนำจิตอาสาชุมชนพิมานในการป้องกันการจมน้ำ
    เวลา 08.30 - 09.30 น. บรรยาย กรอบเนื้อหาหลักสูตร (โดย วิทยากรจากมูลนิธิร่มไทร)
    -ความปลอดภัยทางน้ำ(WaterSafetyKnowledge)
    -การเอาชีวิตและพื้นฐานการว่ายน้ำ (SwimandService)
    -การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ(Water Rescue)
    เวลา 09.30 - 10.30 น. ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว (แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม)โดยทีมวิทยากรจากมูลนิธิร่มไทร4 คน
    เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 - 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด
    ฝึกปฎิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ
    ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำโดยทีมวิทยากรจากมูลนิธิ4 คน
    เวลา 16.00 - 16.30 น. Feedback และปิดการประชุม
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อสร้างทีมอาสาสมัครผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในชุมชน และผ่านการอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ
  2. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13832.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่70 บาท x 30 คนx 1 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่25 บาท x 30 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าวิทยากรจาก รพ. สตูล 600 บาท x 2 คน x 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 7,200 บาท
    กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ
    เวลา 08.30 - 09.30 น. บรรยาย กรอบเนื้อหาหลักสูตร (โดย วิทยากรจาก รพ.สตูล)การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
    เวลา 09.30 - 10.30 น. ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) (แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม)โดยทีมวิทยากรจาก รพ.สตูล 2 คน
    เวลา 12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 - 16.00 น. ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)(แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม) โดยทีมวิทยากรจาก รพ.สตูล 2 คน
    เวลา 16.00 - 16.30 น. Feedback และปิดการประชุม
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อสร้างทีมอาสาสมัครผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในชุมชน และผ่านการอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ
  2. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกัน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการจัดการด้านความปลอดภัยแหล่งน้ำเสี่ยงในในชุมชนและครัวเรือน ( อย่างน้อย 6 แห่ง)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกัน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในการจัดการด้านความปลอดภัยแหล่งน้ำเสี่ยงในในชุมชนและครัวเรือน ( อย่างน้อย 6 แห่ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงโครงไม้พร้อมไวนิลพร้อมติดตั้ง (80 ซม. x 1.20 เมตร ) ตั้งตามจุดเสี่ยงในชุมชน 6 แห่ง ได้แก่ คลองมำบัง,ชุมชนชนาธิป,ชุมชนเทศบาล 4 ,ชุมชนหัวทาง,ชุมชนท่านายเนาว์,ชุมชนโคกพยอม 6 แผ่น x 800 เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าชุดอุปกรณ์ช่วยชีวิต (เชือก,ถังน้ำ) 6 ชุด x 1000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อสร้างทีมอาสาสมัครผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในชุมชน และผ่านการอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ
  2. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำเอกสารส่งกองทุนฯ
งบประมาณที่ใช้
- ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการจำนวน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,932.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีทีมผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในชุมชนพิมาน
2. แหล่งน้ำเสี่ยงในชุมชนได้รับการจัดการด้านความปลอดภัยอย่างน้อย 6 แห่ง
3. แกนนำจิตอาสาชุมชนพิมานได้รับการฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและการ CPR
4. อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลดลง


>