กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตรวจคัดกรองและให้ความรู้มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตำบลตะโละหะลอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

1.นางฟิตรียะ หะยีสาแม
2.นส.อิสมานี รอซือตี
3.นูรุลซาฮาดะห์ ยูนุ๊
4.นางนูรัยสะตา
5.นายรูสลาม สาร๊ะ

ตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ป่วยด้วยมะเร็งเต้านม

 

0.50
2 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.30

มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของ สตรีไทย โรคมะเร็งที่พบรองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งช่องปาก,โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ ฯลฯปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค,อัตราการป่วยและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งลดลง แม้ว่าในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นโรคได้ก็ตาม แต่กลุ่มสตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สามารถลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งได้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาสตรีกลุ่มเป้าหมายยังขาดความตระหนักในการมาตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ขาดทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และยังให้ความสำคัญในการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในหญิงอายุ30-70ปีในการตรวจมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 ของหญิงอายุ30-70ปีได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

0.30 80.00
2 เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงอายุ 30-60 ปี

ร้อยละ40 ของหญิงอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่

0.60 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
หญิงอายุ 30-60 ปี 140

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/01/2023

กำหนดเสร็จ 17/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การประชาสัมพันธ์กิจกรรมและโครงการ งบที่ใช้ 1.1.ค่าวัสดุประชาสัมพันธ์-ขนาด 1x4เมตร ตารางเมตรละ 250บาทรวม 1,000 บาทจำนวน 1ป้าย เป็นเงิน 1,000บาท 1.2ค่าแผ่นพับโรคมะเร็งขนาดA4 40 แผ่นX5 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2566 ถึง 17 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สร้างการตระหนักรู้ในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80 2.สร้างการตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันมะเร็งร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมสร้างการรับรู้และคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดมะเร็ง จำนวน 2 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมสร้างการรับรู้และคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดมะเร็ง จำนวน 2 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดมะเร็ง จำนวน 2 รุ่น งบประมาณ 2.1ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาทx2มื้อ X2รุ่นๆละ 70 คน รวม 160 คน เป็นเงิน 7000 บาท 2.2ค่าอาหารกลางวัน 50 บาทX1มื้อ X2รุ่นๆละ 70 คน รวม160 คน เป็นเงิน 7000 บาท 2.4ค่าวิทยากรกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคัดกรอง 2คนๆ ละ4 ชั่วโมงๆละ 300 บาทx 2รุ่น เป็นเงิน 4800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สร้างการตระหนักรู้ในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80 2.สร้างการตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันมะเร็งร้อยละ80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18800.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองและมีความผิดปกติ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองและมีความผิดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่คัดกรองและมีความผิดปกติ ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 24 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ที่คัดกรองแล้วมีควมผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาร้อละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สร้างการตระหนักรู้ในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80
2.สร้างการตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันมะเร็งร้อยละ80
3.ผู้ที่คัดกรองแล้วมีควมผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาร้อละ100


>