กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองภาวะโลหิตจางเพื่อลดภาวะซีดระยะก่อนตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลควนโดน

โรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการได้รับสารอาหาร ไม่เพียงพอที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งผลของการขาดธาตุเหล็ก จะทำให้ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองลดลง ส่งผลต่อสุขภาพสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้และประสิทธิภาพในการทำงานสตรีวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ 12.5-15 มิลลิกรัมต่อเดือนหรือเฉลี่ยวันละ 0.4-0.5มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ 0.5-1 มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาดแผล และการบริจาคโลหิต หากหญิงวัยเจริญพันธ์ ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลกระทบในขณะตั้งครรภ์ ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์ ส่งผลให้มีพัฒนาการ ด้านร่างกายล่าช้า และสติปัญญาต่ำกว่าปกติดังนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงควรได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอและควรมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในวงกว้างให้ครอบคลุมทั้งหญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมมีบุตร
จากสถิติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2564 พบหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศมีภาวะโลหิตจางร้อยละ ๑๖.๔ จากการสำรวจสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2563-2565มีหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดจำนวน ๓,๑๘๕, ๒,๘๘๑ และ ๒,๖๐๒ คน พบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน ๔๒๘ , ๔๑๖ และ ๒๐๗ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๔๔ , ๑๔.๔๔ และ ๑๐.๓๘และจากการสำรวจสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕ มีหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดจำนวน ๒๕๖ , ๒๓๗ และ ๒๐๖ คนพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด จำนวน ๒๓ , ๒๒ และ ๑๐ คนคิดเป็นร้อยละ ๘.๙๘ , ๙.๒๘ และ ๔.๘๕
จากการดำเนินงานของทางโรงพยาบาลควนโดน ปี ๒๕๖๓-๒๕๖๕ พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง จากการเจาะเลือด ในครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ คิดเป็นร้อยละ ๙.๕๒, ๙.๒๑ และ ๑๑.๙๐ ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดคือร้อยละ ๑๐ ของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการฝากครรภ์ทั้งหมดจากสถิติดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในโรงพยาบาลควนโดน ที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก จึงได้จัดทำ โครงการคัดกรองภาวะโลหิตจางเพื่อลดภาวะซีดระยะก่อนตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ซึ่งเป็นกลุ่มวัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อทารกและเด็กซึ่งเป็นเยาวชนของชาติอันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 2. เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์

หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อเจาะเลือดครั้งแรกที่มาฝากครรภ์มีภาวะซีดน้อยกว่าร้อยละ ๑๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการคัดกรองภาวะโลหิตจางเพื่อลดภาวะซีดระยะก่อนตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ชื่อกิจกรรม
โครงการคัดกรองภาวะโลหิตจางเพื่อลดภาวะซีดระยะก่อนตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 เตรียมลงชุมชน 1.  ประชุม อสม.และประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายและให้หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการนัดวัน เวลา และจัดสถานที่นัดหมายในหมู่บ้าน 2.  เตรียมเจ้าหน้าที่  ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุข อสม  จำนวน ๖ คน มีหน้าที่ลงทะเบียน ,เจาะเลือด,ให้ความรู้,ปั่นฮีมาโตคริต, แจ้งผลฮีมาโตคริต ,จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก และนัดติดตามเจาะเลือดครั้งต่อไป ๑ เดือน
3.  ด้านอุปกรณ์และวัสดุ ทางการแพทย์ประกอบด้วย เครื่องปั่นฮีมาโตคริต, Capillary tube , สำลี alcohol, ถุงแดง, ถุงดำ, เจลทำความสะอาดและเอกสารสื่อความรู้เรื่องภาวะซีดขณะตั้งครรภ์แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน  400 คน    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุม อสม.และประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายและให้หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ 75 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
                        เป็นเงิน 1,875 บาท - ค่าเอกสารสื่อความรู้เรื่องภาวะซีดขณะตั้งครรภ์  400 คน x 15 บาท
เป็นเงิน  6,000  บาท
- ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 450 บาท x 1 ป้าย                       เป็นเงิน  450     บาท
                        รวมเป็นเงิน 8,325  บาท
                (แปดพันสามร้อยยี่สิบห้าบาท) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมในชุมชน 1.  ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ โดยพยาบาลวิชาชีพ
2.  ให้ความรู้โดยพยาบาลวิชาชีพ
3.  เจาะเลือด โดยพยาบาลวิชาชีพ
4.  ปั่นฮีมาโตคริตและอ่านผล โดยนักเทคนิคการแพทย์
5.  บอกผลเลือดรายกลุ่ม โดยพยาบาลวิชาชีพ 6.  บอกผลเลือดรายบุคคลและให้คำปรึกษาโดยพยาบาลวิชาชีพ
-  ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง
จำนวน 400 คน x 25 บาท x 1 มื้อ                                  เป็นเงิน  10,000  บาท


รวมเป็นเงิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท)

กิจกรรมที่ 3 จัดกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ตามผลความเข้มข้นเลือด 1.  กลุ่มซีด ( Hct <๓๓%) ให้ความรู้รายบุคคล รับประทานยาธาตุเหล็ก ๑ เม็ด วันละ ๒ ครั้ง และการนัดติดตาม ๑ เดือน
2.  กลุ่มเฝ้าระวัง (Hct ๓๓-๓๕%) ให้ความรู้รายบุคคล รับประทานยาธาตุเหล็ก ๑ เม็ด วันละครั้งติดตามผลทุก ๑ เดือน
3.  กลุ่มปกติ (Hct ≥๓๖%) ทบทวนความรู้ ให้ยาธาตุเหล็กรับประทานสัปดาห์ละครั้งและ ติดตามผลทุก ๓ เดือน
      

-  ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง
จำนวน 7 คน x 25 บาท x 1 มื้อ                                    เป็นเงิน  175  บาท

รวมเป็นเงิน  145  บาท ( หนึ่งร้อยสี่สิบห้าบาท )


กิจกรรมที่ 4 การติดตามผล 1.  ครั้งที่ ๑ เจ้าหน้าที่ส่งจดหมายนัดติดตามกลุ่มที่มีภาวะซีดเพื่อเจาะเลือดหลังรับประทาน ยาธาตุเหล็กครบ ๑ เดือน โดยนัดบริการตรวจความเข้มข้นเลือด ให้คำปรึกษารายบุคคลในรายที่ยัง มีภาวะซีดทบทวนพฤติกรรมบริโภควิเคราะห์ปัจจัยคุกคามและการรับประทานยาที่ถูกต้องนัดเจาะครั้งต่อไป อีก ๑ เดือน 2.  ครั้งที่ ๒ การนัดหมายและการดูแลเช่นเดียวกับครั้งที่๑ ในกลุ่มที่ยังพบภาวะซีดพิจารณาเพิ่มยาเป็นรายๆตามเหตุผลเช่นรับประทานยาทุกวันสม่ำเสมอแต่ความเข้มข้นเลือดยังไม่เพิ่มส่วนในรายที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอจัดระบบติดตามใกล้ชิดโดย  อสม.ใช้แบบฟอร์มการติดตาม และ วางแผนการพบแพทย์กรณีที่ครั้งต่อไปยังไม่เพิ่มอธิบายให้ผู้รับบริการทราบและเตรียมตัว 3.  ครั้งที่ ๓ นัดติดตามที่โรงพยาบาลในรายที่ยังมีภาวะซีดส่งพบแพทย์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุต่อไป

-   ไม่เบิกงบประมาณ

กิจกรรมที่ 5 สรุป/ประเมินผลโครงการ  -  ไม่เบิกงบประมาณ     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  18,500 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมที่ 1 เตรียมลงชุมชน 1.  ประชุม อสม.และประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายและให้หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการนัดวัน เวลา และจัดสถานที่นัดหมายในหมู่บ้าน 2.  เตรียมเจ้าหน้าที่  ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ เจ้าพนักงานสาธารณสุข อสม  จำนวน ๖ คน มีหน้าที่ลงทะเบียน ,เจาะเลือด,ให้ความรู้,ปั่นฮีมาโตคริต, แจ้งผลฮีมาโตคริต ,จ่ายยาเสริมธาตุเหล็ก และนัดติดตามเจาะเลือดครั้งต่อไป ๑ เดือน
3.  ด้านอุปกรณ์และวัสดุ ทางการแพทย์ประกอบด้วย เครื่องปั่นฮีมาโตคริต, Capillary tube , สำลี alcohol, ถุงแดง, ถุงดำ, เจลทำความสะอาดและเอกสารสื่อความรู้เรื่องภาวะซีดขณะตั้งครรภ์แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน  400 คน    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุม อสม.และประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายและให้หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ 75 คน x 25 บาท x 1 มื้อ
                        เป็นเงิน 1,875 บาท - ค่าเอกสารสื่อความรู้เรื่องภาวะซีดขณะตั้งครรภ์  400 คน x 15 บาท
เป็นเงิน  6,000  บาท
- ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 450 บาท x 1 ป้าย                       เป็นเงิน  450     บาท
                        รวมเป็นเงิน 8,325  บาท
                (แปดพันสามร้อยยี่สิบห้าบาท) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมในชุมชน 1.  ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ โดยพยาบาลวิชาชีพ
2.  ให้ความรู้โดยพยาบาลวิชาชีพ
3.  เจาะเลือด โดยพยาบาลวิชาชีพ
4.  ปั่นฮีมาโตคริตและอ่านผล โดยนักเทคนิคการแพทย์
5.  บอกผลเลือดรายกลุ่ม โดยพยาบาลวิชาชีพ 6.  บอกผลเลือดรายบุคคลและให้คำปรึกษาโดยพยาบาลวิชาชีพ
-  ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง
จำนวน 400 คน x 25 บาท x 1 มื้อ                                  เป็นเงิน  10,000  บาท


รวมเป็นเงิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท)

กิจกรรมที่ 3 จัดกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ตามผลความเข้มข้นเลือด 1.  กลุ่มซีด ( Hct <๓๓%) ให้ความรู้รายบุคคล รับประทานยาธาตุเหล็ก ๑ เม็ด วันละ ๒ ครั้ง และการนัดติดตาม ๑ เดือน
2.  กลุ่มเฝ้าระวัง (Hct ๓๓-๓๕%) ให้ความรู้รายบุคคล รับประทานยาธาตุเหล็ก ๑ เม็ด วันละครั้งติดตามผลทุก ๑ เดือน
3.  กลุ่มปกติ (Hct ≥๓๖%) ทบทวนความรู้ ให้ยาธาตุเหล็กรับประทานสัปดาห์ละครั้งและ ติดตามผลทุก ๓ เดือน
      

-  ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง
จำนวน 7 คน x 25 บาท x 1 มื้อ                                    เป็นเงิน  175  บาท

รวมเป็นเงิน  145  บาท ( หนึ่งร้อยสี่สิบห้าบาท )


กิจกรรมที่ 4 การติดตามผล 1.  ครั้งที่ ๑ เจ้าหน้าที่ส่งจดหมายนัดติดตามกลุ่มที่มีภาวะซีดเพื่อเจาะเลือดหลังรับประทาน ยาธาตุเหล็กครบ ๑ เดือน โดยนัดบริการตรวจความเข้มข้นเลือด ให้คำปรึกษารายบุคคลในรายที่ยัง มีภาวะซีดทบทวนพฤติกรรมบริโภควิเคราะห์ปัจจัยคุกคามและการรับประทานยาที่ถูกต้องนัดเจาะครั้งต่อไป อีก ๑ เดือน 2.  ครั้งที่ ๒ การนัดหมายและการดูแลเช่นเดียวกับครั้งที่๑ ในกลุ่มที่ยังพบภาวะซีดพิจารณาเพิ่มยาเป็นรายๆตามเหตุผลเช่นรับประทานยาทุกวันสม่ำเสมอแต่ความเข้มข้นเลือดยังไม่เพิ่มส่วนในรายที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอจัดระบบติดตามใกล้ชิดโดย  อสม.ใช้แบบฟอร์มการติดตาม และ วางแผนการพบแพทย์กรณีที่ครั้งต่อไปยังไม่เพิ่มอธิบายให้ผู้รับบริการทราบและเตรียมตัว 3.  ครั้งที่ ๓ นัดติดตามที่โรงพยาบาลในรายที่ยังมีภาวะซีดส่งพบแพทย์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุต่อไป

-   ไม่เบิกงบประมาณ

กิจกรรมที่ 5 สรุป/ประเมินผลโครงการ  -  ไม่เบิกงบประมาณ     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  18,500 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. คัดกรองแยกกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
๒. แก้ปัญหาภาวะซีดตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะซีดเมื่อตั้งครรภ์
๓. ทำให้ผู้ที่มารับบริการได้รู้ผลเลือดของตนเอง และสามารถนำไปประเมินอาการเบื้องต้นของตนเองได้อย่างเหมาะสม และสามารถเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางได้ด้วยตนเอง
๔. ผู้ที่เข้ารับบริการตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก เพิ่มมากขึ้น


>