กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส

1. นางมัฏฐิญา ชุมปภัมภ์
2. นางจรรยาพร บุญยอด
3. นางสาวเกษร มอกมา
4. นางสาวอุบล ทองหยู
5. นางสาววัชราพร โม่งทุ่น

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส เป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจาย และติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย เด็กเล็กเป็นช่วงอายุที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของ ร่างกาย จิตใจ และสมอง นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ส่งผลให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย และพบได้บ่อย โดยเฉพาะโรคหวัด อุจจาระร่วง มือ เท้า ปาก ซึ่งการ เจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ เริ่มป่วยอาจทำให้การเจ็บป่วยมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ นอกจากนี้เมื่อเด็ก เกิดเจ็บป่วยยังส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองที่ต้องหยุดงานเพื่อให้การดูแลเด็ก ทำให้ขาดรายได้ และ เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยของเด็กภายใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเชิงแส ต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็กทั้ง 23 คน รวมถึงการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มข้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่พบบ่อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เด็กปฐมวัย และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย และการรู้จักดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็กเล็ก

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็กเล็ก ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง สามารถป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในเด็กเล็ก

เด็กมีอัตราป่วยเกี่ยวกับโรคติดต่อลดลง ร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 23
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู ผู้ดูแลเด็ก 5
ผู้ปกครอง 23

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคติดต่อในเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคติดต่อในเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
2.อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในเด็กและการป้องกัน
3.ทำแบบทดสอบก่อน - หลังการอบรม

เป้าหมาย
-ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนจำนวน23คน
-ครู ผู้ดูแลเด็กจำนวน5คน

งบประมาณ
1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 28 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 700 บาท
2 ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
3 ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน ผืนละ 432 บาท เป็นเงิน 432 บาท
4 ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 23 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 460 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็กเล็ก ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2492.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกันและควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.สร้างกฏกติกาห้องเรียน เช่น
- ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าชั้นเรียน
- การส่งเสริมการล้างมือก่อนเข้าชั้นเรียน
- การส่งเสริมการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
- ฯลฯ
2.ทำความสะอาดอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการและชั้นเรียน เป็นประจำ

งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีอัตราป่วยเกี่ยวกับโรคติดต่อลดลง ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.จัดทำรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์จำนวน 2 เล่ม

งบประมาณ

1.ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 2 เล่ม ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท

รวมเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,692.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้ตามที่จ่ายจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็กเล็ก
2 เด็กมีอัตราป่วยเกี่ยวกับโรคติดต่อลดลง


>