กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่

1.นางวรรณาเขียวแก้ว
2.นางสุภาภรณ์ไพชำนาญ
3.น.ส.กรรณิการ์หีมเขียว
4.นางพิวงศ์แขกพงค์

ม.1 ม.2 ม.9 ต.คลองใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

30.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

110.00
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

70.00

สังคมไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไปในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5%ในอนาคตอันใกล้ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอีกมาก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และคาดว่าในปี พ.ศ.2574 ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ มีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 28 จากแนวโน้มของกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นนี้จะทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ต้องได้รับการดูแลมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะทุกด้านมากขึ้นทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตไปในทางเสื่อมลง ทำให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลงเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อลดภาระการดูแลเพื่อไม่ให้กลุ่มผู้สูงอายุที่ยังไม่เข้าสู่กลุ่มภาวะพึ่งพิงได้ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางด้านสุขภาพทางกาย และจิตใจผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวควรได้รับการส่งเสริมให้เกิด ความแข็งแรงทั้งกายและใจ ด้วยความสุข ๕ มิติ ได้แก่ ๑) สุขสบาย คือความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแล สมรรถภาพร่างกายให้คล่องแคล้ว ๒) สุขสนุก คือ ความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ สนุกสนาน ๓) สุขสง่า คือผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิตความภาคภูมิใจ ความเชื่อมั่น การได้รับการยอมรับนับถือ ๔)สุขสว่าง คือ ความสามารถของผู้สูงอายุด้านความจำ ความคิดอย่างมีเหตุผล การสื่อสาร การวางแผน และการแก้ไข ปัญหา ๕) สุข สงบ คือ ความสามารถของผู้สูงอายุในการรับรู้ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถจัดการกับ สภาวะอารมณ์ได้ การส่งเสริมความสุขทั้ง ๕ มิตินี้จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างความรู้ให้กับผู้สูงอายุ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและอยู่ใน สังคมอย่างมีความสุขด้านการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ มีความสุขและเป็น ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้าน โภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย

ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 70

2.00 70.00
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในกลุ่มผู้สูงอาย

ลดอัตราการเกิดโรคเรื้อรัง และการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมพัฒนาจิตใจเข้าวัดฟังธรรม กิจกรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

ให้ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมพบปะ พูดคุย สันทนาการเดือนละ 1 ครั้ง

0.00
4 เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพให้ประชากรผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

อัตราการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุลดลง และ ไม่มีภาวะซึมเศร้า

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
การอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ได้แก่ การอบรมให้ความรู้ในเรื่องหลักโภชนาการ ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพร่างกายและความสะอาดของผู้สูงอายุ อนามัยของช่องปาก การแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องยาสมุนไพรพื้นบ้าน การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะและวัยสูงอายุ การตรวจสุขภาพประจำปี จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 25 บาทต่อครั้งจำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสันทนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสันทนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมนันทนาการ เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง เช่น ร้องเพลงพื้นบ้าน  เต้นรำ เล่นดนตรี กีฬาในร่ม เกมต่าง ๆ หัวเราะบำบัด  และร่วมรับประทานอาหาร
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท 2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ  เป็นเงิน 2,000 บาท 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 28 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้มีความสุข 5 มิติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง ร่วมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง(CG)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
2. ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลสม่ำเสมอ
3. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง


>