กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมนักเรียนมีสุขภาวะที่ดีโรงเรียนวัดลำพดจินดาราม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

โรงเรียนวัดลำพดจินดาราม

โรงเรียนวัดลำพดจินดาราม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์มาตราฐาน (อ้วน)

 

12.00
2 จำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐาน (ผอม)

 

24.00

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โรงเรียนวัดลำพดจินดาราม ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องรู้จักการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักเรียนได้เรียนรู้การรับประทานอาหารที่ทำให้ไม่อ้วน และเรียนรู้อาหารที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายและสนุกสนานกับการออกกำลังกายด้วยกีฬาประเภทต่างๆที่ส่งเสริมด้านสุขภาพตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 จำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์มาตราฐาน (อ้วน) ลดลง

 

12.00 8.00
2 จำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐาน (ผอม) ลดลง

 

24.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 36
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองนักเรียน 36
แม่ครัว 3

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่๑การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่๑การจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ไวนิล1 ผืน ขนาด 1.2X2.4 ม. เป็นเงิน 500 บาท

  • เอกสารที่ใช้ในการอบรม จำนวน 75 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน1,500 บาท

  • อาหารว่าง สำหรับนักเรียน จำนวน 36 คน ผู้ปกครอง จำนวน 36 คนและแม่ครัว จำนวน 3 คน รวม 75 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 75 คน X 30 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและแม่ครัวมีความรู้เรื่องสุขภาวะที่ดีเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6050.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดอาหารเพื่อเสริมสุขภาพให้กับนักเรียนที่มีภาวะโชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
การจัดอาหารเพื่อเสริมสุขภาพให้กับนักเรียนที่มีภาวะโชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โรงเรียนการจัดอาหารเพื่อเสริมสุขภาพให้กับนักเรียนมีภาวะโชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
- ค่าอาหารเพื่อสุขภาพ นักเรียนจำนวน 24 คน ชุดละ 30 บาท จำนวน 40 วันเป็นเงิน 28,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่มีภาวะโชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28800.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • บาร์โหนติดประตู จำนวน 5 อัน อันละ 490 บาทเป็นเงิน 2,450 บาท

  • เชือกกระโดด จำนวน 5 อัน อันละ 290 บาท เป็นเงิน 1,450บาท

  • จานทวิสต์ ( จานหมุนลดเอว )จำนวน5อัน อันละ 300 บาทเป็นเงิน 1,500บาท

  • ฮูล่าฮูป จำนวน 20 อันอันละ 150 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท

  • ลูกฟุตบอล ขนาด เบอร์ 5 จำนวน 10 ลูก ลูกละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

  • ลูกวอลเล่บอล จำนวน 5 ลูก ลูกละ 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18400.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การยกย่อง /มอบเกียรติบัตรกับนักเรียนในกลุ่มเป้าหมาย ที่สามารถมีภาวะโภชนาการที่สมวัยภายในระยะเวลาที่กำหนด

  • ค่าเกียรติบัตร จำนวน 36 แผ่น ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในกลุ่มเป้าหมาย ที่สามารถมีภาวะโภชนาการที่สมวัยภายในระยะเวลาที่กำหนด ได้รับการยกย่อง /มอบเกียรติบัตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,610.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

2.นักเรียนได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น

3.นักเรียนมีการออกกำลังกายมากขึ้น


>