กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบบูรณาการ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

9.07

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ มีพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน ดังนี้ ม.6บ้านบาตาปาเซ, ม.7 บ้านบูเกะตาโมง, ม.10 บ้านปีแนมูดอ, ม.11 บ้านกำปงบารู และ ม.12 บ้านบูเกะกือจิ มีประชากรทั้งหมด 4,952 คน (ข้อมูลจาก HDC กระทรวงสาธารณสุข) โดยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 450 คนร้อยละ 9.09 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากการคัดกรองโดยใช้แบบประเมินผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ในปี 2565 ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองทั้งหมด 449 คน คิดเป็นร้อยละ 9.07 แบ่งเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 431 คน ร้อยละ 96 กลุ่มติดบ้าน จำนวน 15 คน ร้อยละ 3.34 และกลุ่มติดเตียง จำนวน 3 คน ร้อยละ 0.67 มีผลการดำเนินงานของตำบลที่มีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบบูรณาการ ปีงบประมาณ 2566 เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบบูรณาการในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในชุมชนให้ยั่งยืน อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

9.07 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๐0 คน x 25 บาทx2 มื้อ = 5,000.- บาท 2.ค่าอาหาร จำนวน ๑๐0 คน x 60 บาท x 1 มื้อ = 6,000.- บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชม. x600 บาท x 1 วัน = 3,600.- บาท 4.ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.5 x 2 เมตร x 250 บาท x 1 ผืน = 750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพกายและใจของตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวต่อเนื่อง ร้อยละ ๘๐ ๒.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ ๙๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพกายและใจของตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ
ระยะยาวต่อเนื่อง
2. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์


>