กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นายอาแว ยูไฮ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข โทร. 061-2742663
นางสุนีย์ดือราแม ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
นายฮานิ ดาโอ๊ะ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue fever: DF) นับเป็นโรคอุบัติใหม่ เมื่อพบการระบาดที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2501 ภายหลังจากระบาดที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2496 - 2497มีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 2,000 กว่าราย และมีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 14 ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย มียุงลายบ้านเพศเมียเป็นพาหะนำโรค และในชนบทบางพื้นที่จะมียุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี มีการแพร่กระจายของเชื้ออย่างกว้างขวาง โดยสาเหตุของโรคไข้เลือดออกมาจากเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3, DENV-4 เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่มีระยะไข้สูงซึ่งมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวน จากนั้นเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย และเมื่อยุงลายที่มีเชื้อกัดคนทำให้เกิดอาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีผื่น แดงตามร่างกาย อาจมีอาการคัน ตาแดง ท้องเดิน คลื่นไส้อาเจียน และชัก ส่วนใหญ่เด็กมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะมีอาการปวดข้อ อาจพบข้ออักเสบและมีอาการปวดนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ซึ่งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคในครั้งที่สองมักจะรุนแรงกว่าครั้งแรก เนื่องจากไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาด ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวของชุมชนเมืองและ การคมนาคมที่สะดวกขึ้น ทำให้การแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตของคนจากโรคติดต่อเพิ่มขึ้นทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ จนไปถึงผู้สูงอายุ
ผลจากการดำเนินงานภายใต้แผนงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ได้มีการจัดทำรายงานสถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2560-2564 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดในปีพ.ศ. 2562 ถึง 131,157 ราย และลดลงตามลำดับ ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 10,617 ราย อัตราป่วย 16.04 ต่อประชาชนแสนคน ลดลงจากปีพ.ศ. 2563 ร้อยละ 85.31 และมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 6 ราย อัตราป่วยตายเท่ากับ 0.06 ต่อประชากรแสนคน โดยสถานการณ์โรคตั้งแต่ 1 มกราคม – 20 กรกฎาคม 2565 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 11,027 ราย อัตราป่วย 16.61 ต่อประชากรแสนคน และมีรายงานผู้เสียชีวิต 7 ราย อัตราป่วยตายเท่ากับ 0.06 และจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 10 อับดับแรก คือ แม่ฮ่องสอน ตาก น่าน เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ราชบุรี พิษณุโลก นครปฐม มหาสารคาม และชัยนาท ตามลำดับ สำหรับภาคใต้ มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกปัจจุบัน ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 พฤศจิกายน 2565 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วย 2,648 ราย อัตราป่วย 27.90 ต่อประชาชนแสนคน เสียชีวิต 2 ราย อัตรา ป่วยตายเท่ากับ 0.02 ต่อประชากรแสนคน โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุดในภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส สงขลา ตรัง ปัตตานี และพัทลุง
จากข้อมูลข้างต้น พบว่า ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 กรกฎาคม 2565 จังหวัดนราธิวาสมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงที่สุดของภาคใต้มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก 491 ราย อัตราป่วย 60.64 ต่อประชากรแสนคน สำหรับพื้นที่อำเภอ สุไหงโก-ลก มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 53 ราย อัตราป่วย 68.65 ต่อประชากรแสนคน แยกเป็นรายตำบลที่พบการระบาดมากที่สุด ได้แก่ ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส ตำบลสุไหงโก-ลก และตำบลมูโนะ อัตราป่วย 177.15, 89.51, 57.23, และ29.62 ต่อประชาชนแสนคน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่ บ้านเรือนที่ประชากรอาศัยอยู่มีลักษณะอยู่ชิดติดกันทั้งชุมชน ที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ แต่จากผลการดำเนินการยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ยังคงมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และแนวโน้มการระบาดที่มากขึ้นในแต่ละปี ดังนั้น มาตรการที่สำคัญที่ใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลดีนั้น คือการตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค โดยการกำจัดแหล่งโรค จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และป้องกันบุคคลไม่ให้ติดเชื้อหรือเกิดโรค การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นกลวิธีที่มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเป็นการกระตุ้นเตือนบุคคลในชุมชน ในการตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหา ชุมชนร่วมปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและบริเวณข้างเคียง พร้อมแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร่วมลงพื้นที่ในการป้องกันโรค ให้สุขศึกษา จะทำให้การป้องกันและควบคุมโรคได้ผลดียิ่งขึ้นและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วย และอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกินร้อยละ 50

57.00 50.00
2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก

ผลสำเร็จของหมู่บ้านหรือชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดกระบวนการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 1 ชุมชน

0.00 1.00
3 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครประจำบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

อาสาสมัครประจำบ้านมีความรู้เพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน 50
อาสาสมัครประจำบ้าน 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 1 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 1 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการทำโครงการ โดยใช้กิจกรรม AIC แก่ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน
กำหนดการ
08.30 น. – 08.45 น. ลงทะเบียน
08.46 น. – 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.01 น. – 12.00 น. กิจกรรม AIC โดยวิทยากร นายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส
- ขั้นตอนการสร้างความรู้ (Appreciation : A)
A1 : การวิเคราะห์สภาพการของหมู่บ้าน ชุมชน ในปัจจุบัน
A2 : การกำหนดอนาคตหรือวิสัยทัศน์ อันเป็นภาพพึงประสงค์ในการพัฒนาว่าต้องการอย่างไร
- ขั้นตอนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence : I)
I1 : การคิดเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
I2 : การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม โครงการ
12.01 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 น. – 16.00 น. กิจกรรม AIC โดยวิทยากร นายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส (ต่อ)
- ขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control : C)
C1 : การแบ่งความรับผิดชอบ
C2 : การตกลงใจในรายละเอียดของการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติ
16.01 น. ปิดโครงการ
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 1 ชุมชน
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมอาสาสมัครประจำบ้านกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมอาสาสมัครประจำบ้านกำจัดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครประจำบ้าน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- อบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก แก่อาสาสมัครประจำบ้าน
กำหนดการ
08.00 น. – 08.30 น.ลงทะเบียน
08.31 น. – 08.45 น. พิธีเปิดโครงการ นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก
08.46 น. – 09.00 น. บททดสอบความรู้ก่อนอบรม
09.01 น. – 12.00 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก วิทยากรโดยนายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส
12.01 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 น. – 16.00 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก วิทยากรโดยนายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส (ต่อ)
16.01 น. – 16.15 น. สรุปผลการจัดอบรม
16.16 น. – 16.30 น. บททดสอบความรู้หลังอบรม และประเมินความพึงพอใจ
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน 100 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน x 30 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน6,000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท
4. ค่าไฟฉายพร้อมถ่าน 100 กระบอก x 150 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
5. ค่าทรายอะเบท 1 ถัง เป็นเงิน 6,000 บาท
6. ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ ปากกา สมุด แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดอาสาสมัครประจำบ้านกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37600.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมถอดบทเรียน (AAR)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียน (AAR)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมถอดบทเรียนให้แก่ ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน
กำหนดการ
08.30 น. – 08.45 น.ลงทะเบียน
08.46 น. – 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.01 น. – 11.00 น.กิจกรรมถอดบทเรียน โดย หัวหน้างานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
11.01 น. – 12.00 น. วางแผนโครงการปีงบประมาณ 2567
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดกระบวนการถอดบทเรียน (AAR) จากกิจกรรมที่ดำเนินการ
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วย และอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
2. มีภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรและหน่วยงานในท้องถิ่น ในการดำเนินกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก
3. อาสาสมัครประจำบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น


>