กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัยทำงานตำบลบือมังใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรค NCD ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง

นางสาวไซนะ เซ็งดี ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

อาคารอเนกประสงค์ อบต.บือมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังซึ่งมีความสำคัญด้านสาธารณสุข เนื่องจากโรคกลุ่มนี้มีผลต่อการป่วย พิการ และการตายก่อนวัยอันควรเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างกลุ่มโรคนี้ได้แก่ มะเร็ง เบาหวาน กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น โรคกลุ่มนี้มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น การสูบบุหรี่ การบริโภคอาหารที่มีสัดส่วนไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกายและความเครียด ฯลฯ
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในประเทศไทย พบแนวโน้มที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับการหลั่งไหลของกระแสวัฒนธรรมตะวันตก ส่งผลให้แบบแผนการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งโรคเหล่านี้ไม่สามารถติดต่อไปสู่บุคคลอื่นได้ แต่สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกคนได้เท่าเทียมกัน เมื่อคนๆนั้นมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากประชาชนมีความรู้ในการปฏิบัติตัวและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม รวมทั้งมีการตรวจสุขภาพหรือการคัดกรองค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น จะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว และจากผลการดำเนินงานควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง มีประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองเบาหวานจำนวน 1,567 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 1,487 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.89 และมีประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปต้องได้รับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน 1,827 ราย ได้รับการคัดกรองจำนวน 1,737 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.07 ซึ่งจากการตรวจคัดกรองพบผู้ป่วยรายใหม่ทุกปี และยังพบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 762 ราย คิดเป็นร้อยละ 43.87 และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอีกจำนวน 358 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.08 เป็นต้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวและเพื่อให้สอดคลองกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ ต่อภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง จึงจัดทำโครงการวัยทำงานตำบลบือมังใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรค NCD เพื่อกระตุ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิสูงและเบาหวานได้อย่างถูกต้อง

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้อย่างถูกต้อง

0.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานรายใหม่ในปีงบประมาณ 2566

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ของปีงบประมาณ 2566

0.00 80.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามการเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน

1.ร้อยละ 80 ของเป้าหมายได้รับการติดตามการเจาะเลือดเพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำที่บ้านภายใน 90 วันหลังเข้ารับการอบรม

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงป่วยโรค HT DM 200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปีงบประมาณ 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

  • ประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงานในการจัดเตรียมโครงการ โดยคัดเลือดคณะทำงานจากอาสาสมัครตำบลบือมัง จำนวน 68 คน

  • อบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจากการคัดกรองในปีงบ 2565 จำนวน 200 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 100 คน

๑.ลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย โดยแยกลงทะเบียนเป็นรายหมู่

๒.ให้ผู้เข้ารับการอบรมนั่งพักก่อนวัดความดันโลหิตอย่างน้อย ๑๕ นาที ก่อนเริ่มตรวจวัดความดันโลหิต เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว หาดัชนีมวลกายแจ้งผลให้ผู้เข้าร่วมอบรมทราบทันที จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสนใจที่จะเรียนรู้ต่อไป และใช้เปรียบเทียบประเมินผลการติดตามหลังการอบรม

๓.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน การดูแลสุขภาพตัวเองตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ ๑.อ.อาหาร ๒.อ.อารมณ์ ๓.อ.ออกกำลังกาย ๑.ส.สูบบุหรี่ ๒.ส.สุรา ๑.ฟ.การดูแลฟัน

งบประมาณ

-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 200 คน x มื้อละ 60 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท

-ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 200 คน x มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท

-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 2 วัน เป็นเงิน 7,200บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 31,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองสุขภาพและเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในเรื่อง ๓ อ. ๒ ส.1ฟ 1 น

3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีองค์ความรู้ในการป้องกันโรคและมีความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อป่วยและลดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมคณะทำงานในการติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงานในการติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

1.อบรมให้ความรู้แก่คณะทำงานเพื่อทบทวนแนวทางการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

2.ฝึกทักษะการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดที่ถูกต้อง

งบประมาณ

  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 68 คน x มื้อละ 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,080 บาท

  • ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 68 คน x มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,080 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทีมติดตามกลุ่มเสี่ยงสามารถตรวจวัด คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยใช้เครื่องวัดความดันและเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดได้ตามเทคนิค วิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8160.00

กิจกรรมที่ 3 คณะทำงานลงติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
คณะทำงานลงติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

1.ทีมคณะทำงานลงพื้นที่ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย เพื่อตรวจวัดหาระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำ ภายใน 90 วันหลังจากอบรม พร้อมให้คำแนะนำ

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนคณะทำงานในการลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิสูงและเบาหวาน จำนวน 68 คน x 100 บาท เป็นเงิน 6,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการติดตามประเมินภาวะสุขภาพภายใน 90 วันหลังอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและคัดเลือกบุคคลต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและคัดเลือกบุคคลต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

-ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและคัดเลือกบุคคลต้นแบบพร้อมมอบใบเกียรติบัตร หมู่ละ 1 คน

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 68 คน x มื้อละ 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,040 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หมู่ละ 1 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2040.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายในชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน
2.ชุมชนสามารถป้องกันตนเองจากโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน


>