กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กบือมังสุขภาพดี สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

น.ส.ใอเสาะ มอซู

ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม และค่อนข้างผอม

20.28
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย และค่อนข้างเตี้ย

27.73

เด็กวัยก่อนเรียนถือว่าเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งจะมีคุณภาพได้นั้น ต้องมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การบริโภคอาหารที่ถูกต้องก็จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์ ก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีตามมาด้วย โภชนาการตามวัยจึงมีความสำคัญของการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก และเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เด็กที่ได้รับอาหารเพียงพอต่อร่างกายก็จะมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างดีและถึงศักยภาพที่ควรจะเป็น และอาหารยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิต หากร่างกายได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเหมาะสม (Balanced Diet) จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และสูงดีสมส่วน ผู้ที่มีภาวะโภชนาการที่ดี จะมีความด้านทานโรคได้ดีกว่าร่างกายของผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) และหากได้รับเชื้อโรคก็มีโอกาสติดเชื้อโรคได้น้อยกว่า แม้ว่าติดโรคแล้วก็จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าและหายป่วยได้เร็วกว่า มีความสามารถในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์กัน และส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมองและสติปัญญา โดยพบว่า เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการส่งผลให้การเจริญเติบโตของเด็กชะงักทั้งทางร่างกาย จิตใจ สมอง และสติปัญญา
จากการเฝ้าระวัง ส่งเสริม และติดตามภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยของตำบลบือมัง ปีงบประมาณ 2566 ไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม 2565 ) ได้รับการประเมินโภชนาการ จำนวน 431 คน พบว่า เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการดัชนีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุเด็กส่วนใหญ่ส่วนสูงดีสมส่วน ร้อยละ 48.48 (เกณฑ์กำหนดร้อยละ 64) โดยพบว่าเด็กปฐมวัยในตำบลบือมังส่วนใหญ่มีส่วนสูงตาเกณฑ์ ร้อยละ 62.70 รองลงมา มีส่วนสูงเตี้ยร้อยละ 18.41 และมีส่วนสูงค่อนข้างเตี้ย ร้อยละ 9.32 เมื่อประเมินภาวะโภชนาการดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ พบว่า เด็กส่วนใหญ่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ร้อยละ 73.43 รองลงมามีน้ำหนักค่อนข้างน้อย ร้อยละ 13.75 และมีน้ำหนักน้อย ร้อยละ 10.49 และจากการประเมินภาวะโภชนาการดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบว่า ร้อยละเด็กอายุ 0 - 5 ปี สมส่วน ร้อยละ 66.90 และมีภาวะผอม ร้อยละ 12.35 และค่อนข้างผอม ร้อยละ 7.93 ทั้งนี้สาเหตุอาจเกิดจากเด็กบางรายยังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง และสภาพทางเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดหาสิ่งบริโภครวมถึงทัศนคติในการเลี้ยงดูบุตรในเรื่องการบริโภคอาหารของบิดา - มารดาหรือผู้ปกครองเด็กที่ยังไม่ถูกต้อง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในเฝ้าระวัง ส่งเสริม และติดตามภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยของตำบลบือมัง จึงจัดทำโครงการเด็กบือมังสุขภาพดี สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัยในอสม.ทุกคน และผู้ดูแลเด็กทีมีภาวะโภชนาการผอม ค่อนข้างผอม มีภาวะเตี้ยหรือค่อนข้างเตี้ย

อสม. และผู้ดูแลเด็กทีมีภาวะโภชนาการผอม ค่อนข้างผอม มีภาวะเตี้ยหรือค่อนข้างเตี้ย ผ่านการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐม ร้อยละ 80

206.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้เด็กบือมังสุขภาพดี สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย

เด็กบือมังสุขภาพดี สูงดีสมส่วน มากกว่าร้อยละ 60 ขึ้นไป

49.29 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.และเจ้าหน้าที่ 70

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย จำนวน 70 คน ประกอบด้วย อสม. 68 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 70 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงานและแผนในการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย ในคณะทำงานเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย จำนวน 70 คน และผู้ดูแลเด็กมีภาวะโภชนาการผอม ค่อนข้างผอม หรือมีภาวะเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย จำนวน 70 คน รวมทั้งหมด 140 คน จำนวน 1 วัน - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 140 คน * มื้อละ 60 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน8,400 บาท - ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 140 คน * มื้อละ 30 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน8,400 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานเฝ้าระวังเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการและผู้ดูแลเด็กมีภาวะโภชนาการผอม ค่อนข้างผอม หรือมีภาวะเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย ผ่านการอบรมจำนวนร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย โดยคณะทำงานเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัยเดือนละ 1 ครั้งจำนวน 6 ครั้ง ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2566 - ค่าอาหารว่างคณะทำงานเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย จำนวน 70 คน * มื้อละ 30 บาท * 6 มื้อ เป็นเงิน 12,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยตำบลบือมังที่มีภาวะโภชนาการผอม ค่อนข้างผอม หรือมีภาวะเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย ได้รับการติดตามภาวะโชนาการ มากกว่าร้อยละ 80
และเด็กบือมังทั้งหมดมีสุขภาพดีสูงดีสมส่วมมากว่า ร้อยละ 60 และมีพัฒนาการสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานของคณะทำงาน จำนวน 70 คน และคัดเลือกบุคคลต้นแบบ "เด็กบือมังสุขภาพดี สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย" หมู่ละ 1 คน รวมทั้งหมด 6 คน - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตำบลบือมังมีเด็กปฐมวัยต้นแบบที่มีสุขภาพดีสูงดีสมส่วน และมีพัฒนาการสมวัย หมู่ละ 1 คน จำนวน 6 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.และผู้ดูแลผู้ดูแลเด็กทีมีภาวะโภชนาการผอม ค่อนข้างผอม มีภาวะเตี้ยหรือค่อนข้างเตี้ย มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเฝ้าระวังและส่งเสริมโภชนาการเด็กปฐมวัย
2. เด็กปฐมวัยตำบลบือมังมีสุขภาพดีสูงดีสมส่วนเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 60 ขึ้นไป
3. มีบุคคลต้นแบบ เด็กบือมังสุขภาพดี สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย หมู่ละ 1 คน รวมทั้งหมด 6 คน


>