กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ม.7 บ้านสโลว์ ตำบลรือเสาะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม. 7 บ้านสโลว์ ต.รือเสาะ

1.นางสาวมาสด๊ะ ดือราแม
2.นางสาวพาอีสะห์ ดือราแม
3.นางสาวมูรณี มะมิง
4.นางสาวสารีพะ กูโน
5.นางสาวนาฮีเมาะ วามิง

ม. 7 บ้านสโลว์ ต.รือเสาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือ ศสมช. ถูกกำหนดเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพเบื้องต้นของชุมชน บริหารและบริการโดยอสม.ตลอด 24 ชั่วโมงภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นพี่เลี้ยง ชึ่งขณะนี้หลายๆพื้นที่ถูกละเลยไปเป็นเพราะสาเหตุต่างๆ รวมทั้งในพื้นที่ตำบลกาลูปังด้วย โดยบทบาทของอสม.จะเป็นผู้กระตุ้นปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ประชาชนหันมาลงมือปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ขณะเดียวกันการฟื้นฟูศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือศสมช. เพื่อให้เป็นศูนย์บริการสุขภาพเบื้องต้น มียาที่จำเป็นของชุมชนมีทีมงาน อสม. เข้าถึงง่าย มียา มีอสม.ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง บริการทั้งการรักษาเบื้องต้น ซึ่งการเจ็บป่วยขณะนี้ร้อยละ 80 สามารถดูแลเบื้องต้นได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคในชุมชน การเยี่ยมบ้าน มีการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสมปลอดภัย ทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพ และเป็นคลังสนับสนุนเครื่องมือวัสดุต่างๆในการป้องกันโรคในบ้านเรือนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นการแจกพันธุ์ปลาหางนกยุงเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก การแจกหน้าการอนามัย เยลล้างมือป้องกันโรคติดต่อโควิด-19 เป็นต้น โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เป็นที่ปรึกษา ประสานความร่วมมือองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันในพื้นที่ สามารถนำรูปแบบการจัดการปัญหาที่ประสบผลสำเร็จไปถ่ายทอด ขยายผลสู่ที่อื่นๆ อย่างเป็นเครือข่าย.เป้าหมายสูงสุดให้ประชาชนทุกคน มีความรู้ด้านสุขภาพ และมีทักษะการดูแลตัวเองและครอบครัว เพราะผู้ที่ดูแลสุขภาพตัวเองได้ที่ดีที่สุดก็คือตัวเอง ไม่ใช้เป็นหน้าที่ของอสม.หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขแต่ฝ่ายเดียว และหากป่วยจะมีอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับที่สูงขึ้น เป็นผู้ให้การดูแลช่วยเหลือรักษาจนหายป่วย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.) ม. 7 บ้านสโลว์ ตำบลรือเสาะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาการบริการใน ศสมช.
  1. มีเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างเป็นรูปธรรม
1.00
2 2. กิจกรรมสำรวจและพัฒนาส่วนขาดของ ศสมช.
  1. มีเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่คำนึงถึงความต้องการและจำเป็นของผู้ป่วยในชุมชน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรม อสม.และผู้นำชุมชนในการดำเนินงานของ ศสมช.

ชื่อกิจกรรม
1. อบรม อสม.และผู้นำชุมชนในการดำเนินงานของ ศสมช.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน30 คน มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อ x 2 วันเป็นเงิน3600 บาท ค่าอาหารกลางวันจำนวน 30 คนx มื้อละ 60 x 2 วันบาทเป็นเงิน3600 บาท ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมงเป็นเงิน3600 บาท รวม เป็นเงิน10800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดความร่วมมือความเข้าใจในบทบาทในการดำเนินงาน โดยใช้ ศสมช.เป็นศูนย์กลาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 2 2. พัฒนา ศส.มช. ใน 3 กลุ่มบ้านย่อย ม.7 บ้านสโลว์ ประกอบด้วย ชุมชนสโลว์ ชุมชนปอเนาะ และชุมชนสาตอ

ชื่อกิจกรรม
2. พัฒนา ศส.มช. ใน 3 กลุ่มบ้านย่อย ม.7 บ้านสโลว์ ประกอบด้วย ชุมชนสโลว์ ชุมชนปอเนาะ และชุมชนสาตอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อเครื่องมือและวัสดุที่จำเป็นในการใช้ใน ศสมช.และให้บริการในชุมชน 1.ค่าเครืองวัดความดันแบบดิจิตอล  เครื่องละ 2500 บาท จำนวน 3 เครื่อง เป็นเงิน  7500 บาท 2. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก  เครื่องละ  1000 บาท จำนวน 3 เครื่อง  เป็นเงิน  3000 บาท 3. ค่าโต๊ะพับอเนกประสงค์  ตัวละ 1000 บาท จำนวน 3 ตัว เป็นเงิน  3000 บาท 4. ค่าเก้าอี้พลาสติก จำนวน  15 ตัว ๆละ 250 บาท เป็นเงิน 3750  บาท 5. ค่ากระดานไวท์บอร์ด  จำนวน 3 แผ่น ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1500 บาท 6. ค่าปากกาไวท์บอร์ด ด้ามละ  15 บาท  จำนวน 15 ด้าม  เป็นเงิน  225 บาท 7. ค่าตู้วางของอเนกประสงค์  ตู้ละ  700 บาท จำนวน 3 ตู้ เป็นเงิน  2100 บาท 8. ค่าป้าย ศสมช.  ป้ายละ 800 บาท จำนวน 3 ป้าย เป็นเงิน  2400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23475

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23475.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,275.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.)ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาให้สามารถให้บริการชาวบ้านได้
2.มี อสม.ปฏิบัติงานใน ศสมช.
3.ศสมช.เป็นศูนย์ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สามารถให้บริการด้านสุขภาพเป็นเบื้องต้นได้
4. สามารถปรับประยุกต์ใช้สถานที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ


>