กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดโรคลดพุงเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัคาสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

1.นางกรุณาวิสโยภาส
2.นายเสริมขวัญนุ้ย
3.นางนันทภรณ์รุยัน
4.นางหนูพร้อมด้วงเอียด
5.นางสาวสิริรัตน์พรหมมินทร์

ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันพบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุข ผู้ที่ป่วยโรคส่วนใหญ่มักจะได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องเมื่อมีภาวะของโรคมากแล้วทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากกลุ่มเสี่ยงโรคต่างๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนเมื่อได้รับการคัดกรองแล้วมักจะไม่ยอมรับในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม และกลุ่มสงสัยเป็นโรคจำนวนมากที่ยังไม่เข้ารับการวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ดรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน มีโอกาสเกิดขึ้นกับบุคคลได้ทุกคน ในปัจจุบันยังไม่สามารถบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีพลังงานสูง วิถีชีวิตนั่งๆนอนๆ ขาดกิจกรรมทางกาย ประวัติความอ้วนในครอบครัว อายุที่มากขึ้นรวมทั้งการสูบบุหรีดื่มสุรา และจากนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีนโยบายบริหารระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ครอบคลุม เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี อีกทั้งจากการคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพในปี 2565 พบว่าประชาชนในตำบลท่ามิหรำ มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 30.41 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 33.61 กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน ร้อยละ 38.23 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรค
ชมรม อสม.ตำบลท่ามิหรำ ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือด กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ จึงได้จัดโครงการลดโรคลดพุงเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาให้กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีการเรียนรู้อย่างถูกต้องในเรื่องอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการพัฒนาด้านความรู้อย่างน้อยร้อยละ 80

20.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 400
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน
1.1 กิจกรรมย่อย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรรความดันโลหิตสูง โรคอ้วน
      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 400 คน x 25 เป็นเงิน  10,000 บาท       - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 8 ครั้ง  เป็นเงิน 14,400 บาท            รวมเป็นเงิน 24,400 บาท 1.2 กิจกรรมย่อย ติดตามวัดความดันโลหิตและตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดซ้้ำในกลุ่มเสี่ยง       - เครื่องตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือด 3 เครื่อง x 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท       - เครื่องวัดความดันโลหิต 3 เครื่อง x 1,800 บาท  เป็นเงิน 5,400 บาท
          รวมเป็นเงิน 9,000 บาท 1.3 กิจกรรมย่อย การประเมินภาวะสุขภาพหลังเสร็จสิ้นโครงการ 2.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน กลุ่มเข้มข้น 2.1 กิจกรรมย่อย  ปรับเปลียนพฤติกรรมฯ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน กลุ่มเข้มข้น        - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 25 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 4,000 บาท        - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงx600 บาท x 4 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท        - ค่าตรวจหาค่าไขมันในเลือด จำนวน 40 คน x 220 บาท เป็นเงิน 8,800 บาท           รวมเป็นเงิน 20,000 บาท 2.2 กิจกรรมย่อย การออกกำลังกายร่วมกันที่เทศบาลตำบลท่ามิหรำ รพ.สต.บ้านน้ำเลือด และในหมู่บ้าน 2.3 กิจกรรมย่อย  การประเมินภาวะสุขภาพหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเข้มข้น สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคลงได้อย่างน้อยร้อยละ 40

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>