กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3

1. นางอำนวย บุญรัศมี
2. นางจิรนัน กาญจนวงศ์
3. น.ส.รุ่งนภา แก้วอิทริทร์
4. นางวิยะฎา สุนสระบุตร
5. นางนิตยา จิตต์ฉลาด

ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่อแสนประชากร

 

350.00

โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันควบคุมมาโดยตลอด ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา ข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งสิ้น 333 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 23.65 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนตุลาคม เท่ากับ 80 ราย รายงานเดือน มกราคม 8 ราย กุมภาพันธ์ 10 ราย มีนาคม 3 ราย เมษายน 11 ราย พฤษภาคม 24 ราย มิถุนายน 39 ราย กรกฎาคม 39 ราย สิงหาคม 61 ราย และกันยายน 58 ราย จากสถานการณ์การแพร่ระบาด จะเห็นได้จากอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและลักษณะนิสัยของยุงลายชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากบ้าน วัดโรงเรียนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมในชุมชน ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะเหมือนกัน จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชาชนในพื้นที่

อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะในพื้นที่ต่อแสนประชากร

350.00 100.00
2 เพื่อป้องกันการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน

ร้อยละของการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของประชากรในชุมชน

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5,465
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควัน เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตร นับจากจุดเกิดโรค จำนวน 50 ครั้ง ครั้งละ 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
  2. ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (น้ำมัน) สำหรับใช้กับเครื่องพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 10,000 บาท
  3. ค่าสารเคมีสำหรับฉีดพ่นควบคุมโรคไข้เลือดออก เป็นเงิน 10,000 บาท
  4. ค่าอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี เป็นเงิน 3,500 บาท
    หมายเหตุ ให้ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามจริง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันลูกน้ำยุงลายและโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ลงพื้นที่รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  2. จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย

- ทรายทีมีฟอส 1% เอส จี จำนวน 6 ถัง ๆ ละ 4,500 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท
- สเปรย์ฉีดพ่นยุงชนิดพกพา ขนาด 30 ml. จำนวน 300 ขวด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
หมายเหตุ ให้ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 72,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ให้ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามรายจ่ายจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้
2. ไม่พบการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่


>