กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยโรคติดต่อนำโดยแมลงปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง

น.ส.คอรีเย๊าะยูโซ๊ะ

ชุมชน ในพื้นที่หมู่ 6 ต.บาละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อนำโดยแมลง ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับต้นๆของประเทศ เช่นโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาทางพยาบาลและทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ การแพร่ระบาดของโรคติดต่ออนำโดยแมลงในปัจจุบันเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคไข้มาลาเรีย โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ในแต่ละปีจะมีประชาชนป่วยเป็นจำนวนมาก เพราะการติดต่อและแพร่ระบาดของโรครวดเร็วขึ้น และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนในแง่การเจ็บไข้ได้ป่วย การพิการและการเสียชีวิตของประชาชน เนื่องจากความรุนแรงของโรค ซึ่งประชาชนมีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและภัยสุขภาพด้วยกันทุกคน ปัญหาด้านสาธารณสุขในปัจจุบันเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของประชาชนในพื้นที่ นับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง
สำหรับข้อมูลสถานการณ์โรคติดต่อโดยแมลงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง พบผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563- 1 ธันวาคม 2565 พบจำนวน 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 276.71 ต่อแสนประชากรและ พบผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563- 1 ธันวาคม 2565 พบจำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 85.14 ต่อแสนประชากร
เพื่อเป็นการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่นำโดยแมลง ซึ่งเป็นโรคที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน สร้างผลกระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายทางภาครัฐด้านการรักษาพยาบาลส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากมายต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศตามลำดับนั้น ดังนั้นการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพนี้ จึงต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อลดผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นนี้ไม่ให้แพร่กระจาย และไม่ให้เป็นปัญหาในพื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา พร้อมทั้งประสานการดำเนินงานให้สามารถควบคุมการระบาดให้สงบได้อย่างรวดเร็วอย่างทันท่วงที ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับทัพยากรในชุมชน และเทคโนโลยี เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลูโบ๊ะปันยังเล็งเห็นว่าถึงความสำคัญของโรคติดต่อนำโดยแมลงในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยโรคติดต่อนำโดยแมลงปี 2566 ขึ้นเพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตลอดจนนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างถ้วนหน้าต่อไป และให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อป้องกันอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่นำโดยแมลงของประชากรในหมู่บ้าน
2.เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ปัญหาและควบคุมป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง/เลี้ยงปลาหางนกยูงเฝ้าระวังลูกน้ำยุงลาย /ถางหญ้าริมคลอง (คลองเจะแป๊ะ ม.6 ต.บาละ) กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ และออก สำรวจลูกน้ำยุงลายและยุงก้นปล่อง โดยประชาชนในหมู่บ้าน และอสม.ม.6 บาละ จำนวน 30 คน / พ่นหมอ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง/เลี้ยงปลาหางนกยูงเฝ้าระวังลูกน้ำยุงลาย /ถางหญ้าริมคลอง (คลองเจะแป๊ะ ม.6 ต.บาละ) กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ และออก สำรวจลูกน้ำยุงลายและยุงก้นปล่อง โดยประชาชนในหมู่บ้าน และอสม.ม.6 บาละ จำนวน 30 คน / พ่นหมอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

7.1. กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง

                       7.1.1 กิจกรรมเลี้ยงปลาหางนกยูงเฝ้าระวังลูกน้ำยุงลาย
                                 -  ค่าบ่อซีเมนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 cm. สูง 50 cm. ราคา 600 บ.x 3 บ่อ = 1,800 บาท                                         -  ค่าปลาหางนกยูง 1 ตัว 4 บาท x 30 ตัวx 3 บ่อ                                      =   360 บาท             
       7.1.2 กิจกรรมถางหญ้าริมคลอง (คลองเจะแป๊ะ ม.6 ต.บาละ) กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ และออก   สำรวจลูกน้ำยุงลายและยุงก้นปล่อง โดยประชาชนในหมู่บ้าน และอสม.ม.6 บาละ จำนวน 30 คน
                      -  ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 30 คน x 1 มื้อ x 1 วัน                           = 1,500 บาท
                            - ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 30 คน x 1 มื้อ x 1 วัน                     =  750  บาท                             - ค่ายาทากันยุง ขนาด 8 มล. จำนวน 126 ซองๆ 5 บ.                           =  630 บาท
                               รวมเป็นเงิน 5,040  บาท                 7.1.3 กิจกรรมพ่นหมอกควัน สถานที่ในหมู่บ้านหมู่ 3 และ หมู่ 6 ต. กาบัง ทั้งหมด 400 หลังคาเรือน               พร้อม เจาะหาเชื้อมาลาเรียในกลุ่มเสี่ยงอยู่ใน หมู่ 6 ต. บาละ
                             - เบนซิน 8 ลิตร x 40  บาท x 10 ครั้ง                  = 3,200 บาท                                - ดีเซล 16 ลิตร x  36 บ.  X 10 ครั้ง                    = 5,760 บาท                                      - ค่าตอบแทนทีมพ่น หมอกควัน คนละ 200 บ. X 2 คน x 10 ครั้ง (ครั้งละ 10 หลังคาเรือน)
                                                                                                 = 4,000 บาท                                                                                 รวมเป็นเงิน 12,960 บาท                                                 รวมงบประมาณทั้งสิ้น 18,000  บาท (เงินหนึ่งหมื่นแปดพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรียลดลง
2. ลดอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย
3. ทุกภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีความตื่นตัวในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังของโรคติดต่อนำโดยแมลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรียลดลง
2. ลดอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย
3. ทุกภาคีเครือข่ายในพื้นที่มีความตื่นตัวในการควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังของโรคติดต่อนำโดยแมลง


>