กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะบือซา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชมรมจิตอาสาฯ ดูแลสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุและผู้พิการ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะบือซา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลุโบะบือซา

บ้านผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ในตำบลลุโบะบือซา ม.1-ม.6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัย ทั้งนี้ ผู้สูงอายุผู้พิการผู้ด้อยโอกาส
จำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรืออยู่กับเด็กในวัยเรียนและก่อนวัยเรียน โดยบุตรหลานวัยทำงานต้องดิ้นรนออกไปทำงานนอกพื้นที่เพราะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดการชะลอตัวค่าครองชีพเครื่องอุปโภคบริโภค มีราคาสูง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้บุตรหลานไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุบางรายปล่อยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพังด้วยเงินเบี้ยยังชีพเท่านั้น ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส หลายรายในสังคมมีโรคประจำตัวหรือต้องเป็นผู้ติดเตียง ติดบ้าน ไม่มีโอกาสได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือชมรมต่าง ๆ บางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
ชมรมจิตอาสา ภายใต้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลุโบะบือซา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาวะของผู้ป่วยติดเตียงติดบ้าน ให้มีสุขภาวะที่ดี มีกำลังใจในการดำรงชีวิต จึงจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการดำเนินชีวิต และตรวจสุขภาพเบื้องต้น ให้กับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน เพื่อสร้างกำลังใจในการดำเนินชีวิตและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

4.1เพื่อตรวจสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านในพื้นที่ตำบลลุโบะบือชา
4.2เพื่อให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านและผู้ดูแลในพื้นที่ตำบลลุโบะบือชาให้มีความรู้เรื่อง"การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านสุขอนามัย "
4.3เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านในพื้นที่ตำบลลุโบะบือซาให้พร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไปได้
อย่างมีความสุข

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้านเเละติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้านเเละติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 รวบรวมฐานข้อมูลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านในตำบล 4.2 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน 4.3 เขียนโครงการเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อขออนุมัติโครงการ 4.4 ประสานงานกับ อสม. รพ.สต.ลุโบะบือซา และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานตาม 4.5 ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ร่วมกับ อสม., รพ.สต. ลุโบะบือชา 4.6 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :
30,750 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ให้มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ที่ดีขึ้น
8.2 ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นสามารถดูแลผู้ป่วยติดเตียง ติด
บ้านได้เป็นอย่างดี
8.3 สามารถสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านพร้อมทีจะดำรงชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข


>