กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วมและร่วมพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วม ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ

องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่สภาพอากาศบริเวณภาคใต้ พบว่าในช่วงวันที่ 17-20 เดือนธันวาคม 2565มีฝนตกหนักในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง ส่งผลให้เกิดภาวะอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นที่รวมถึงพื้นที่ตำบลตะลุโบะถือเป็นวิกฤติการณ์อีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดความเสียหายตามมา ประชาชนที่ประสบปัญหาด้านปัจจัยในการดำรงชีวิต อาหาร สิ่งของอุปโภคบริโภค รวมถึงผลกระทบต่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างรุนแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แม้ในระหว่างที่เกิดอุทกภัยและหลังจากเกิดอุทกภัยแล้วก็ตาม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ มีหน้าที่ในการดำเนินงานให้ประชาชนได้รับการดูแลด้านส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนในชุมชน ให้สามารถเข้าถึงบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง รวมถึงการป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อุทกภัยการรักษาพยาบาลเบื้องต้นในพื้นที่และศูนย์อพยพรวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของประชาชนในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบด้านสุขภาพโดยรวมจากสถานการณ์ในครั้งนี้
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะลุโบะ มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหาร น้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคฉี่หนูโรคไข้เลือดออก ภาวะซึมเศร้า ปัญหาความเครียด และปัญหาด้านอื่นๆ เป็นต้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องดำเนินโครงการแก้ปัญหาสุขภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วมและฟื้นฟูพื้นที่น้ำท่วม ประจำปี2566 เพื่อช่วยเหลือประชาชนในสภานการณ์น้ำท่วมให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ เด็กและสตรีมีครรภ์ ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงประชาชนกลุ่มอื่นๆที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ให้ได้รับการช่วยเหลือและดูแลในสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

0.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการดูแลด้านสุขภาพ หลังภาวะอุทกภัย

ร้อยละ 80 ผู้ประสบภัยพิบัติ ได้รับการดูแลสุขภาพหลังภาวะอุทกภัย

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 580
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดหาเวชภัณฑ์ยา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดหาเวชภัณฑ์ยา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเวชภัณฑ์ยาแก้ปัญหาโรคน้ำกัดเท้าและการเจ็บป่วยของประชาชน จำนวน 580 ชุดชุดละ 150.-บาท ประกอบด้วย
  1. ยาใช้ภายนอกสำหรับโรคผิวหนัง
  2. ยาลดไข้บรรเทาอาการปวด
  3. ยารับประทานสำหรับอาการแพ้หรือคัน
  4. ยาใช้ภายนอกสำหรับแผลสด
  5. สำลี
  6. พลาสเตอร์ใส
  7. ผ้าก๊อซ รวมเป็นเงิน 87,000.-บาท (แปดหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)

หมายเหตุค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการดูแลด้านสุขภาพหลังภาวะอุทกภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
87000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม Big Cleaning Day

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Big Cleaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สถานที่ที่ถูกน้ำท่วมได้รับการทำความสะอาดเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 87,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนไม่เกิดโรคจากน้ำท่วม
2.ประชาชนได้รับการดูแลเบื้องต้นทางด้านสุขภาพภายหลังจากน้ำท่วม


>