กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ "สตรีนาทอน"ร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

รพ.สต.นาทอน

นางหทัยกาญน์ สันมาหมีน

รพ.สต.นาทอนและ พื้นที่ ม.1,2,3,6และม.7 ต.นาทอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

****โรคมะเร็งปากมดลูก พบว่าเป็นอันดับที่ 2 ของมะเร็งที่พบในสตรีทั่วโลก รองจากมะเร็งเต้านม แต่ละปีมีสตรีทั่วโลกกว่า 5 แสนคนต่อปี เป็นโรคนี้ และร้อยละ 80 เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา แต่สำหรับประเทศไทย พบว่าโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้หญิงวัยกลางคนอายุระหว่าง 35-55 ปี ในแต่ละปีมีการตรวจพบมะเร็งปากมดลูกรายใหม่กว่า 6,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 2,600 รายต่อปี กล่าวได้ว่าทุกๆวันจะมีสตรีไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 7 คนนับ เป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (human Papilloma virus หรือ HPV) สายพันธุ์ที่ 16 และ 18การติดเชื้อ ร้อยละ 85 เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ15 เกิดจากการสัมผัสแล้วเชื้อเข้าไปในเยื่อบุของอวัยวะเพศ หรือปากมดลูกมีรอยถลอกหรือแผลที่ทำให้เชื้อเข้าไปได้ ดังนั้น แม้ว่าไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อนก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชพีวี เชื้อ ไวรัส ชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความเสี่ยงต่ำ ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ และรอยโรคขั้นต่ำส่วนกลุ่มความเสี่ยงสูงเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อปากมดลูกจนกลายเป็นรอยโรคขั้นสูงและเป็นมะเร็งในที่สุด โดยกระบวนการเกิดมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาเฉลี่ย 5–15 ปี พบว่าสตรีที่ติดเชื้อไวรัส กลุ่มความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 400 เท่า เมื่อเทียบกับสตรีที่ไม่พบการติดเชื้อดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อดังกล่าวอาจจะหายเองได้ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในกรณีที่การติดเชื้อยังคงอยู่ หรือฝังแน่นที่ปากมดลูกก็จะมีการพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคนี้มีระยะก่อนเกิดมะเร็งให้ตรวจพบได้ จะทำให้พบระยะก่อนมะเร็ง และมะเร็งระยะเริ่มแรก ช่วยให้สามารถรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีนโยบายส่งเสริมสุขภาพในการคัดกรอง
****โรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ใน 75 จังหวัด ทั่วประเทศ และในการลดอุบัติการณ์และอัตราตายจากมะเร็งปากมดลูกของสตรีนั้นต้องมีการคัดกรองให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มดังกล่าวให้มากที่สุด โดยต้องทำซ้ำทุก 5 ปี โดยมีแผนการป้องกันและควบคุมมะเร็งแห่งชาติตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะลดอัตราตายของสตรีไทยจากมะเร็งปากมดลูกลง 50 % ภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งจากการดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเริ่มตั้งแต่ปี 2495 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายยังพบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกยังเป็นปัญหาสำคัญและอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปากมดลูกยังไม่ได้ลดลงในสตรีไทย รพ.สต.นาทอน ตรวจคัดกรองด้วยวิธี (Pap) smearมาจนถึงปี 2562 เนื่องจากปี 2563-2564 มีสถานณ์การโรคระบาดโควิด -19 จึงไม่เปิดรับบริการและปัจจุบันรพ.สต.นาทอนมีวิธีการตรวจแบบ เอชพีวีดีเอ็นเอ (HPV DNA Test)ซึ่งเป็นวิธีที่ตรวจคัดกรองแบบใหม่ในปี 2565 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี เอชพีวีดีเอ็นเอ (HPV DNA Test) เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ระดับ DNA ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจระดับชีวโมเลกุลที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวี ได้ในระยะก่อนที่จะเกิดเป็นมะเร็งปากมดลูกทำให้สามารถป้องกันและรักษาได้ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถระบุลงลึกไปได้ถึงสายพันธุ์ของเชื้อ HPV ไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์ 16 และ สายพันธุ์ 18 ที่มีความเสี่ยงสูงสุดและเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึง 70% และสามารถเว้นการตรวจซ้ำได้ถึง 5 ปี ให้ความแม่นยำในการตรวจเจอโรคสูงเกือบ 100% ในปีงบประมาณ 2565 รพ.สต.นาทอน ได้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี (HPV DNA Test) ในสตรีอายุ 30-60 ปี จำนวนทั้งหมด 70 ราย ตรวจพบความผิดปกติ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.71
****ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอนจึงจัดทำโครงการ "สตรีนาทอน"ร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปี2566 เพื่อสตรีในเขตรพ.สต.นาทอนได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอย่างครอบคลุมมีประสิทธิภาพและค้นหาระยะก่อนเกิดโรคและส่งต่อให้ในรายที่ผิดปกติได้อย่างทันถ่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปีมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกก่อนการตรวจคัดกรอง

1.สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกก่อนการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมก่อนตรวจเต้านมด้วยตนเอง

2.สตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี มีความรู้เรื่องและทักษะการมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ถูกวิธี ร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

3.สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 30

0.00
4 4.เพื่อรายที่ตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพ

4.รายที่ตรวจพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 250
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการ "สตรีนาทอน"ร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี2566

ชื่อกิจกรรม
โครงการ "สตรีนาทอน"ร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สํารวจกลุ่มเป้าหมายและจัดทําทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
  2. ประชุมชี้แจงให้เจ้าหน้าที่รับทราบโครงการและมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน
  3. ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านรับทราบโครงการ
  4. นำเสนอโครงการเพื่อขอพิจารณาอนุมัติโครงการ
  5. จัดทำป้ายโครงการ เป็นเงิน 500 บาท
  6. จัดทำสมุดบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเองพร้อมความรู้ จำนวน 250 เล่มๆละ 20 บาท รวมเป็น 5,000 บาท
  7. จัดทำเอกสารให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก จำนวน 250 ชุดๆละ 5 บาท รวมเป็นเงิน 1,250 บาท
  8. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA Test)

- ค่าวัสดุที่ใช้การตรวจคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกเพื่อสุขอนามัยที่ดี จำนวน 250 ชุดๆละ 80 บาท
รวมเป็น 20,000 บาท 10. สาธิตและฝึกปฏิบัติการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง - ค่าชุดโมเดลตรวจมะเร็งเต้านมแบบปกติ จำนวน 1 ชุดๆละ 4,350 บาท - ค่าชุดโมเดลตรวจมะเร็งเต้านมแบบที่มีพยาธิสภาพ จำนวน 1 ชุดๆละ 4,850 บาท 11. ติดตามและส่งต่อในรายที่ผิดปกติ 12. สรุปผลการดําเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สตรี ในกลุ่มอายุ30-60 ปี ได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 30 2.สตรี ในกลุ่มอายุ30-60 ปี ได้รับบริการตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 90 3.ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรี ในกลุ่มอายุ30-60 ปี ได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 30
2.สตรี ในกลุ่มอายุ30-60 ปี ได้รับบริการตรวจเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 90
3.ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องพร้อมได้รับการติดตามเยี่ยมโดยทีมสุขภาพร้อยละ 100


>