แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ รหัส กปท. L2476
อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ปัจจุบันอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ระบุว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของผู้หญิงทั่วโลก มีการประมาณกันไว้ว่า ในทุกๆปี จะพบผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ มากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ราย และครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น จะเสียชีวิตลง ซึ่งนับได้ว่าทุกๆ ๑ ชั่วโมง จะมีผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึง ๓๐ คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงจากอุบัติเหตุเลยทีเดียว
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกได้ประมาณอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในอนาคตอีก๒๐ ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็น ๒ เท่าของปัจจุบัน รายงานสถิติสาธารณสุข ของศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขอัตราตายด้วยมะเร็งทุกชนิดสูงขึ้นตลอด โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เป็นอันตรายอันดับ ๑ มะเร็งเต้านมเป็นอันดับ ๒ ในผู้หญิง ปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำHPV DNA Testในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ๓๐ – ๖๐ ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้
โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย จากการรายงานของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติในปี ๒๕๖๕ พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกปีละเท่ากับ ๒๔.๕ ต่อประชากรสตรี ๑๐๐,๐๐๐คนต่อปี ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ รายและมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๕,๒๐๐ ราย หรือประมาณร้อยละ ๒๗ และมีสตรีไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ ๑๔ คน สตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับ ๒ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันและควบคุมได้โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง สามารถดูแลรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบในระยะแรกของการป่วยและถ้าประชาชนสตรีรู้จักวิธีการป้องกันโดยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพื่อหาเซลล์ผิดปกติผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งสิ้น
แม้จะเป็นเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม จากสถิติ รายงานว่า ๓๐% ของผู้หญิงไทย ไม่เคยได้เข้ารับการตรวจแปปเสเมียร์เพื่อคัดกรองหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกเลย
จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียงร้อยละ ๓.๕๗ ซึ่งจะเห็นว่าจะมีประชาชนมาคัดกรองไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดนราธิวาสซึ่งกลุ่มประชากรกลุ่มเป้าหมายของจังหวัดนราธิวาสจะต้องได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ ๒๐ เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจะต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้มาคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ จึงได้บูรณาการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้าในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ให้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง
-
1. 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสตรีกลุ่มอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตัวชี้วัด : ๑.สตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์ร้อยละ ๒๐ และสตรี อายุ ๓๐-๗๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ขนาดปัญหา เป้าหมาย 130.00
-
2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกตัวชี้วัด : ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกได้รับการส่งต่อร้อยละ 100ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปีได้รับความรู้ สามารถตรวจเต้นมได้ด้วยตัวเองและสาธิตกลับได้อย่างถูกต้องตัวชี้วัด : สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตัวเองและสาธิตกลับได้อย่างถูกต้องร้อยละ ๘๐ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. จัดอบรมและสาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมรายละเอียด
2.1 กิจกรรมย่อย จัดอบรมแบ่งเป็น ๒ รุ่น รุ่นละ ๖๕ คนโดยมีกิจกรรม -อบรมให้ความรู้เรื่องคัดกรองมะเร็งเต้านม - สาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยใช้โมเดลเต้านม -ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 130 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท 2.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าไวนิล ขนาด 1*2 เมตร ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บาท
4.ค่าวัสดุในการอบรม จำนวน 130 ชุด ๆ ละ 70 บาท (แฟ้ม = 5,590 บาท, ปากกา = 1,560 บาท, สมุด=1,950 บาท) เป็นเงิน 9,100 บาทงบประมาณ 16,650.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ
รวมงบประมาณโครงการ 16,650.00 บาท
สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๖๐ ปีในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็ง ปากมดลูกและได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐ – ๗๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถสาธิตกลับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วและลดอัตราการตายได้
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ รหัส กปท. L2476
อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ รหัส กปท. L2476
อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................