กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตำบลทะเลน้อย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย

ตำบลทะเลน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย จากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ระดับคุณภาพของระบบงานในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังดำเนินการในลักษณะตั้งรับ แม้นว่าจะมีนวัตกรรมกิจกรรมเชิงรุกอยู่ในหน่วยบริการระดับต่างๆอยู่แล้วแต่ก็ยังไม่เป็นระบบที่ต่อเชื่อมกันได้ดีมีการจัดการกับพฤติกรรมเสี่ยงน้อย ระบบติดตามภาวะแทรกซ้อนยังขาดความต่อเนื่อง
จากการสรุปผลการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) ในปี ๒๕๖๓ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ปี ๒๕๖๔ พบว่า มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน3,272 คน ได้รับการ คัดกรองโดยการเจาะปลายนิ้ว จำนวน 3,096 คนคิดเป็นร้อยละ 94.62 พบประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน440คนโดยประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการเจาะโลหิตซ้ำ จำนวน 424 คน คิดเป็นร้อยละ 90.36 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 2.73 ในส่วนของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีผู้ป่วย จำนวนทั้งหมด693 คน ได้รับการตรวจเลือดประจำปี จำนวน486คน คิดเป็นร้อยละ 70.13 มีผู้ป่วยที่คุมน้ำตาลได้ จำนวน 218 คน คิดเป็นร้อยละ 31.46 ในส่วนของการดำเนินงานป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2563 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2,621 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 2,425 คน คิดเป็นร้อยละ 92.52 พบประชากร กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 142 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน138คน คิดเป็นร้อยละ 97.18 และมีผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ7.25ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วย จำนวนทั้งหมด 1381คน มีผู้ป่วยที่ควบคุมความดันได้ดีจำนวน935คน คิดเป็นร้อยละ 67.70
จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ในแต่ละปีประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามแนวทางการดำเนินงานที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำไว้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัด (KPI) เพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมตั้งประชาชนหรือผู้ป่วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
รพ.สต.ทะเลน้อย ได้นำวิธีคิด“การจัดการโรค”(Diseases Management) “รูปแบบโรคเรื้อรัง” (Chronic Care Model) และ“รูปแบบการจัดการดูแลโรคเรื้อรัง”(“Chronic Diseases Management Model”)มาบูรณาการกับกรอบความคิด“รูปแบบการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ขององค์การอนามัยโลก จนเกิดกรอบแนวคิดบูรณาการที่ เน้น ‘ความต่อเนื่อง’ ‘บูรณาการ’และ‘ประสานดำเนินการ’ ทั้งในส่วนของการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลเข้าด้วยกัน จึงได้จัดทำ "โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตำบลทะเลน้อย ปีงบประมาณ 2564 “ เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้ป่วยมีความรู้และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต รวมถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายประกอบโรคศิลปะ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประกาศกำหนดไว้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุแถบตรวจน้ำตาลในเลือด
-ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 2,250 ชิ้น ชิ้นละ 9.60 บาท เป็นเงิน 21,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน     โรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๙๐
2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 60
3. อัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4
4.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.
5. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
6. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยง CVD risk ลดลง


>