กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านโหนด

ชม่รมอสม.หมู่ที่ 6 บ้านโหนด

หมู่ที่ 6 บ้านโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเนื่องมาจากแบบแผนชีวิตมนุษย์ที่มีความเครียดมากขึ้น มีนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย สิ่งต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดโรคจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย ความรุนแรงของโรคเกิดได้ทั้งตายอย่างฉับพลัน และมีภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
ตามนโยบายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด ได้กำหนดให้ ประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานตามมาตรฐานม.๓ บ้านนากัน มีประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปซึ่งต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน ๒๕๐ คน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนมากพอสมควร เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลตามเป้าหมาย ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.๓ บ้านนากัน จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะแกนนำชุมชน ในการปฏิบัติงานทั้งคัดกรอง ค้นหากลุ่มเป้าหมายส่งต่อรักษาและให้คำแนะนำการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจากความสำคัญดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.๓จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพประชาชน ตามหลัก (๓อ ๒ส)และการค้นหา ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหนด ทำให้สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพตามหลัก(๓อ ๒ส)และได้รับการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

0.00
2 ๒. เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ได้รับการส่งต่อและรักษาต่อเนื่องอย่างถูกวิธี

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 28/02/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองคำวามดัน เบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองคำวามดัน เบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14827.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,827.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนอายุ 3๕ ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพตามหลัก (๓อ ๒ส)และได้รับการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างถูกต้อง ร้อยละ ๙๕
๒.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามมาตรฐานโรคเบาหวานและความดัน
โลหิตสูง ร้อยละ ๑๐๐


>