กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียนโรงเรียนเทศบาล ๒(บ้านกาแป๊ะกอตอ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านกาแป๊ะกอตอ)

โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านกาแป๊ะกอตอ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งวัยเด็กเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆและอาหารก็มีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม เด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกายด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ จากการตรวจสุขภาพนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านกาแป๊ะกอตอ) ประจำปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด จำนวน196คน พบว่า นักเรียนที่มีภาวะสูงดีสมส่วน จำนวน 163คน คิดเป็นร้อยละ 83.16 ภาวะอ้วน จำนวน2คน คิดเป็นร้อยละ 1.02 และเตี้ย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 2.55 นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 13.26
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านกาแป๊ะกอตอ)จึงได้เสนอโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืนและที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 90 เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 100 ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการและการส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงประโยชน์ของผัก

ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักขั้นพื้นฐานด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงประโยชน์ของผัก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 196
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ผู้ปกครอง 90

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน แก่นักเรียนผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน แก่นักเรียนผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44135.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33860.00

กิจกรรมที่ 3 สาธิตปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเสริมโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
สาธิตปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อเสริมโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,715.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. เสนอโครงการเพื่อการอนุมัติตามวาระการประชุมของคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุกๆ เดือน
3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก
4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
5. อบรมครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดยวิทยากรจาก รพ. หรือ ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ มีเนื้อหาดังนี้ (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
5.1 บรรยายให้ความรู้เรื่อง ความหมายและความสำคัญของภาวะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย(ผู้ปกครอง,เด็กนักเรียน)
5.2 บรรยายให้ความรู้เรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (ผู้ปกครอง,เด็กนักเรียน)
5.3 บรรยายให้ความรู้เรื่อง “ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย”(ผู้ปกครอง)
5.3.1 การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
5.3.2 โรคขาดสารอาหาร ภาวะเด็กน้ำหนักต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์
5.3.3 โรคอ้วน โรคและความผิดปกติที่เกี่ยวกับโภชนาการและการเจริญเติบโต
**หมายเหตุนักเรียนอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปรผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง
5.4 บรรยายให้ความรู้เรื่อง “อาหารหลัก 5 หมู่และธงโภชนาการ 6 กลุ่ม”(ผู้ปกครอง)
5.4.1อาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
5.4.2 ปริมาณวัตถุดิบในการจัดอาหาร
5.4.3 การเลือกซื้อ การเตรียม การปรุงอาหาร
5.4.4 ปริมาณสารอาหารที่ได้รับใน 1 วัน
5.5 บรรยายให้ความรู้เรื่อง“การจัดสิ่งแวดล้อมและการสร้างสุขนิสัยที่ดีสำหรับเด็กในการรับประทานอาหาร”(ผู้ปกครอง)
**หมายเหตุนักเรียนอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ฟังบรรยายให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและสาธิตปลูก ผักปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมโภชนาการ
6. ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง ร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
6.1 ที่โรงเรียน
- ครูผู้ดูแลเด็ก/พี่เลี้ยง กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
6.2 ที่บ้าน
- ผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติมกรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
7. จัดหานม และไข่เพิ่มเติม สำหรับให้เด็กที่โรงเรียน และสนับสนุนให้เด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
8. ดำเนินการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง
9. ติดตามประเมินผล โดยการทำแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม , ถาม-ตอบระหว่างการอบรม และสังเกตความสนใจของผู้เข้ารับการอบรมและการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และแปรผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง
10. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองเบตง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>