กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการจัดการความเครียด ส่งเสริมสุขภาพใจ ด้วยดนตรี
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มคน
ชมรมอนุรักษ์เพลงเก่า
1. คุณกำชัย สากลเจริญ
2. คุณศรีวรรณ จารุธนกุล
3. คุณพงษ์ศักดิ์ แซ่เจน
4. คุณอรพินท์ ฐานบัณฑิต
5. คุณธัชชนก เลื่องรุจิเศรษฐ์
6. คุณภัทรภร สากลเจริญ
3.
หลักการและเหตุผล

จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วทางสังคม การสื่อสาร การคมนาคม และเทคโนโลยีในปัจจุบัน แม้จะเป็นการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ทำให้เกิดความก้าวหน้า สะดวกสบายของการดำเนินชีวิตในหลายๆ ด้าน แต่ก็สามารถส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจิตของผู้คนได้ค่อนข้างมากเช่นกันทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลบางส่วนก็มาพร้อมความเครียดและรบกวนความสงบโดยไม่จำเป็น การดำเนินชีวิตที่ต้องเร่งรีบ แข่งขันมากขึ้น ความเป็นชุมชนเมืองที่แออัด ตลอดจนมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่องได้ทั้งสิ้น
ความเครียดและการพัฒนานั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน เพราะความเครียด คือความรู้สึกกดดัน ดึงรั้ง บีบคั้น ซึ่งเป็นกลไกการตอบสนองตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เมื่อเผชิญกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกท้าทาย ต้องการการตื่นตัว แม้ความเครียดในระดับที่พอดีจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดและการพัฒนา แต่อย่างไรก็ตามความเครียดในระดับที่มากเกินไปสามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย อารมณ์และพฤติกรรมได้อย่างมาก รบกวนความสุขในการใช้ชีวิตประจำวัน หากต่อเนื่องยาวนานในระดับสูงก็จะนำไปสู่การเจ็บป่วยได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความเครียดเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลไม่สามารถตัดสินแทนกันได้ แต่ละคนต่างมีสิ่งที่ทำให้เครียดแตกต่างกัน เราไม่สามารถอยู่โดยปราศจากความเครียดได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจกับลักษณะความเครียดของตนเอง รวมถึงการมีวิธีในการรับมือและจัดการกับความเครียดที่มีประสิทธิภาพของแต่ละบุคคลนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
สถานการณ์ปัจจุบันในอำเภอเบตงก็เช่นเดียวกัน มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นพร้อมๆ กันในหลายๆด้าน การแข่งขัน และความเครียด ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ด้วยลักษณะของเมืองเบตงนั้นเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดยะลา เป็นเมืองที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีทั้งความแออัดที่มากขึ้น การแข่งขันทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่สูงขึ้น ค่าครองชีพที่สูง สภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการกรีดยางพารา รวมถึงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาที่ทำให้กิจการร้านค้าหลายแห่งต้องประสบปัญหาอย่างหนัก ตลอดจนปัญหายาเสพติด และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองเบตงมีภาวะเครียดมากขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ชมรมอนุรักษ์เพลงเก่าซึ่งเป็นการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองเบตงที่ชื่นชอบในการผ่อนคลายความเครียดด้วยบทเพลงเก่าจึงเล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการส่งเสริมดูแลสุขภาพจิต จึงได้จัดทำโครงการ “จัดการความเครียด ส่งเสริมสุขภาพใจ ด้วยดนตรี” ซึ่งมีทั้งกิจกรรมเรียนรู้วิธีประเมินความเครียดและวิธีประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง ตลอดจนมีแผนการรับมือกับความเครียดของแต่ละบุคคล รวมถึงการเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจการผ่อนคลายความเครียดด้วยดนตรีได้มีกิจกรรมการร้องเพลงและฟังดนตรีไปด้วยกัน เพราะดนตรีเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของมนุษย์ที่นิยมใช้ในการผ่อนคลายความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพมาอย่างช้านาน ดนตรีช่วยกระตุ้นสมอง ปรับระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด ลดภาวะวิตกกังวล ลดระดับความซึมเศร้าได้ จึงเปรียบดนตรีเหมือนยาดีที่มีผลอย่างมากกับจิตใจ กิจกรรมดังกล่าวยังส่งเสริมให้ประชาชนได้พบปะพูดคุยมีกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สำคัญในการลดความเครียดอีกด้วย อนึ่งการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนในเทศบาลเมืองเบตงสามารถประเมินระดับความเครียด ระดับความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ด้วยตนเองได้ สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้ผ่อนคลายความเครียดโดยใช้ดนตรีบำบัดไปพร้อมกับกลุ่มชมรมอนุรักษ์เพลงเก่า ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดี นำไปสู่การมีสุขภาพกายดี และสุขภาพสังคมที่ดีต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องความเครียด สามารถทำแผนในการจัดการความเครียดของตนเองได้
    ตัวชี้วัด : - ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องความเครียด ร้อยละ 80 - ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบอกแผนการจัดการความเครียดของตนเองได้ ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประเมินระดับความเครียด และความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าของตนเองได้
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการบอกวิธีประเมินความเครียดและความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าของตนเองได้ ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับความเครียดสูงหรือมีอาการของโรคซึมเศร้าได้รับการให้การปรึกษาหรือส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษา
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน ที่มีระดับความเครียดสูงหรือมีอาการของโรคซึมเศร้าตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปได้รับการให้การปรึกษาหรือส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษา
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. ผู้เข้าร่วมโครงการที่ร่วมกิจกรรมผ่อนคลายด้วยดนตรี มีระดับความเครียดลดลง
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการที่ร่วมกิจกรรมผ่อนคลายด้วยดนตรี ร้อยละ 80 มีระดับความเครียดลดลง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้เรื่องความเครียด การประเมินระดับความเครียดและความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง การจัดการความเครียด และการทำแผนจัดการความเครียดส่วนบุคคล
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 5,575.00 บาท
  • 2. ผ่อนคลายความเครียดด้วยเพลงเก่า เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 21,100.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ เทศบาลเมืองเบตง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 26,675.00 บาท

หมายเหตุ : วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.ขั้นวางแผน 1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินการจัดโครงการ 1.2 ประชุมสมาชิกชมรมอนุรักษ์เพลงเก่าเพื่อหารือรูปแบบของโครงการและกิจกรรม 1.3 สำรวจผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1.4ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.5 เสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในการดำเนินงาน และพิจารณาอนุมัติโครงการ 1.6 ประสานวิทยากรในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ คัดกรองและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต 1.7 ขอใช้สถานที่ จัดเตรียมเอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ 1.8 ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ ดังนี้ - กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องความเครียด,การประเมินระดับความเครียดและความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง,การจัดการความเครียด และการทำแผนจัดการความเครียดส่วนบุคคล 2.2 กิจกรรมผ่อนคลายความเครียดด้วยเพลงเก่า - กิจกรรมผ่อนคลายความเครียดด้วยเพลงเก่าอย่างต่อเนื่อง เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน ในสถานที่สาธารณะ - กิจกรรมคัดกรองประเมินภาวะเครียด ความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ให้คำปรึกษาแก่ประชาชนและส่งต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หรือปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องการการรักษาให้ได้รับบริการด้านสุขภาพจิต - ติดตามประเมินระดับภาวะเครียด ระดับความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ตลอดจนการปฏิบัติตามแผนจัดการความเครียดของผู้เข้าอบรมหลังสิ้นสุดกิจกรรม 3. ขั้นสรุปและเขียนรายงาน

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องความเครียดมากขึ้น ประเมินความเครียดของตนเองได้ ทำแผนจัดการความเครียดของตนเองได้ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพจิตที่ถูกต้องแก่ผู้อื่นได้
  2. ประชาชนได้รับการคัดกรองระดับความเครียด และความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
  3. กลุ่มเสี่ยงสูงด้านสุขภาพจิตได้รับการให้การปรึกษาหรือส่งต่อเข้าสู่กระบวนการรักษา
  4. ประชาชนที่สนใจดนตรีมีกิจกรรมกลุ่มในการผ่อนคลายด้วยดนตรีร่วมกันในพื้นที่เทศบาลเมืองเบตง
  5. ระดับความเครียด และภาวะซึมเศร้าของประชาชนที่เข้าร่วมการอบรมลดลง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 26,675.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................