กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ และสุขอนามัยในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงเรียนวัดพรุเตาะ

โรงเรียนวัดพรุเตาะ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนานักเรียนตามแนวทางของโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการ และสุขอนามัยในโรงเรียนภายใต้แนวคิดการมี ส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชนเพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน เป็นกลยุทธ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมดำเนินการกับฝ่ายการศึกษามาตั้งแต่ปี 2541 ก่อให้เกิดผลเป็นที่น่าพอใจ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการและสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปีติดต่อกันเป็นลำดับสำหรับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ใช้ในช่วงที่ผ่านมา เป็นเกณฑ์ที่ประกอบด้วย ตัวชี้วัดภายใต้องค์ประกอบ 10 ประการ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นด้านกระบวนการของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นทิศทางแก่โรงเรียน แต่ยังมิได้ให้ความสำคัญกับการวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพมาก เพื่อให้โรงเรียนวัดพรุเตาะ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนด้านสุขภาพอันจะนำไปสู่กันพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
โรงเรียนวัดพรุเตาะ เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โดยเป้าหมาย คือ นักเรียนโรงเรียนวัดพรุเตาะ ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน มีการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน โดยจะมีรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมเป็นภาคีเครือข่ายในระดับสถานศึกษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี ต่อการบริโภคและตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี่ต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

90.00
2 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมี่ส่วนร่วมในเรื่องการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

สมาชิกชมรม อย.น้อยให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนหน้าเสาธงหรือใช้เสียงตามสาย อาทิตย์ละ1 ครั้ง

55.00
3 เพื่อสงเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

นักเรียนมีความสุขในการมาเรียน สถิติขาดเรียนลดน้อยลง

2.00
4 เพื่อให้สมาชิกชมรม อย.น้อยตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้

สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถสุ่มตรวจวิเคราะห์อาหารในห้องครัวและโรงอาหารอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง

12.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อบต.ทุ่งใหญ่ เพื่อรับงบประมาณสนับสนุน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น อบต.ทุ่งใหญ่ เพื่อรับงบประมาณสนับสนุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม อย.น้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อย.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง สถานการณ์ความปลอดภัยทางด้านอาหารของคนไทยในปัจจุบัน และการอ่านฉลากยา เครื่องดื่ม อาหารและสาธิตการทดสอบอาหารด้วยสารทดสอบตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าตอบแทนวิทยากรจากสาธารณสุข หัวข้อ สถานการณ์ความปลอดภัยทางด้านอาหารของคนไทยในปัจจุบัน จำนวน 300 บาท x 1 คน x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรจากโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ หัวข้อ การอ่านฉลากยา เครื่องดื่ม อาหารและสาธิตการทดสอบอาหารด้วยชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร จำนวน 300 บาท x 1 คน x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมและผู้เกี่ยวข้อง 50 บาท x 1 มื้อ x 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้เกี่ยวข้อง 25 บาท x 2 มื้อ x 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
5. ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม ชุดสาธิตการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร รายละเอียดดังนี้
1) ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ (ผงกรอบ) จำนวน 3 ชุด x 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2) ชุดทดสอบซาลิซิลิค (สารกันรา) จำนวน 3 ชุด x 700 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
3) ชุดทดสอบฟอร์มาลีน (น้ำยาดองศพ) จำนวน 1 ชุด x 1,100 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
4) ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลเฟต์ (สารฟอกขาว) จำนวน 4 ชุด x 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
5) ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 1 ชุด x 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
6) ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ จำนวน1 ชุด x 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท
7) ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 ชุด x 850 บาท เป็นเงิน 850 บาท
8) ชุดทดสอบไอโอดีนในเกลือ จำนวน 4 ชุด x 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
6. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 ม. x 3 ม. จำนวน 5 ป้าย x 675 บาท เป็นเงิน 3,375 บาท
7. ค่าจัดทำแผ่นพับ/ใบความรู้ประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนและชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง
จำนวน 4 ครั้ง x 80 ใบ x 15 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
8. ค่าถ่ายเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน โดยใช้แบบสอบถาม 100 ชุด x 8 บาท เป็นเงิน 800 บาท
หมายเหตุ ให้ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,625.00 บาท

หมายเหตุ :
ให้ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคและตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยกันมากขึ้น
2. นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน
3. สมาชิกชมรมรักสุขภาพโรงเรียนวัดพรุเตาะ อย. น้อยสามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารเจือปนประเภทสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและจุลินทรีย์ ต่าง ๆ ได้


>