กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

รพ.สต.สากอ

1. นางสาวนาซีปะ ญาติมณี เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
2. นางสาวนูรีดาสามูนิง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3. นางสาวอิลฮัมสาแม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
4. นางสาวมารียานี ยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5. นางสาวอาปีซะห์วาเฮ็บ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ห้องประชุม รพ.สต.สากอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขใต้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจสังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว ชุมซน และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาอารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากข้อมูล HDC ปีงบประมาณ 2565 พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ในเขต ตำบลสากอ มีภาวะเตี้ย ร้อยละ8.59 ภาวะผอม ร้อยละ22.91 ซึ่งสูงกว่าคำเฉลี่ยระดับประเทศระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่าภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งพัฒนาการทางต้นร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางต้นสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าวกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสากอจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ตำบลสากอ ปี 2566 ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อ5

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย 2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม/เตี้ย) ได้รับการดูแลแก้ไข 3. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย

ตัวชี้วัด 1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรม 3.มีความรู้เพิ่มขึ้น

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต ค่านมกล่อง ยี่ห้อ ไทย-แดนมาร์ก คนละ 36 กล่องๆ 10 บาท จำนวน 30 คน
เป็นเงิน 10,800 บาท รวมเป็นเงิน 10,800.- บาท (หนึ่งหมื่นแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 60 คนๆละ 50 บาท 1 มื้อ 1 วันเป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600บาท 4.ค่าป้ายโครงการไวนิล 1x3 เมตร เป็นเงิน 900 บาท 5.แบบติดตามน้ำหนักเด็ก เป็นเงิน 1,800 บาท (1.กระดาษ A4 ขนาด 4x125=500 บาท 2.หมึก Ink Epson 664 Bk,C,M,Y ราคา 1,300 บาท) 6.ค่าวัตถุดิบในการประกอบอาหาร สาธิตแกงจืดเต้าหู้ไข่ไก่ 1.เต้าหู้ไข่ เป็นเงิน 100 บาท
2.ไก่ 2 ตัวเป็นเงิน 360 บาท
3.ซอสถั่วเหลืองเป็นเงิน 30 บาท 4.เกลือไอโอดีน เป็นเงิน28 บาท 5.ต้นหอม เป็นเงิน 20 บาท 6.ผักชีไทย เป็นเงิน20 บาท
7.แครอท 6 หัว เป็นเงิน120 บาท 8.น้ำปลาเมกาเชฟ ขนาด 500 กรัม เป็นเงิน 65 บาท 9.กระเทียม เป็นเงิน 20 บาท 10.ซอสซีอิ๊วขาว เห็ดหอม เป็นเงิน 62บาท 11.ไข่ไก่ 2 แผง เบอร์ 1 เป็นเงิน 240 บาท 12.ผักกาดขาว 1 กิโลกรัม เป็นเงิน60 บาท
13.มะเขือเทศเป็นเงิน 40บาท 14.พริกไทยป่นเป็นเงิน40 บาท
เป็นเงิน 1,205บาท สาธิตอาหารว่าง (แซนวิชทูน่า) 1.ขนมปัง (ฟาร์มเฮ้าส์) ขนาด 500 กรัม 6แพ็ค เป็นเงิน276บาท 2.มายองเนส สูตรญี่ปุ่น ตราคิวพี ขนาด500มล.3 แพ็ค เป็นเงิน558บาท 3.ซีเล็คทูน่า 165 กรัม 12 กระปุกเป็นเงิน552 บาท 4.แครอท 3 หัว เป็นเงิน60บาท 5.ซอสมะเขือเทศโรซ่า ขนาด 500 กรัม 2ขวด เป็นเงิน 108บาท 6.ไข่ไก่2 แผง เบอร์ 1 เป็นเงิน240บาท 7.น้ำมันองุ่น ขนาด 1 ลิตร เป็นเงิน 68 บาท 8.ผักกาดหอม 1 กิโลกรัม เป็นเงิน 40บาท 9.มะเขือเทศ 1 กิโลกรัมเป็นเงิน 60 บาท เป็นเงิน 1,962บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารที่มีประโยชน์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15467.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แบบติดตามน้ำหนักเด็กดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กปฐมวัยที่มีปัญหา ทุก 1 เดือน         2.บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็กพร้อมแจ้งพ่อแม่ทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู         3.จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือเตี้ย แยกเป็นการเฉพาะ และติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ทุก 1 เดือน                 4.การแจกนมส่งเสริมเด็กปฐมวัยที่มีภาวะผอมและเตี้ย         5.สรุปข้อมูลติดตามเด็กปฐมวัยที่มีภาวะผอมและเตี้ย         6.ติดตามประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการเด็ก
  2. กลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีน้ำหนักหรือส่วนสูงเพิ่มขึ้น
  3. ผู้ปกครองสามารถสาธิตประกอบอาหารเสริมโภชนาการเด็กได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,267.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการเด็ก
2. กลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีน้ำหนักหรือส่วนสูงเพิ่มขึ้น
3. ผู้ปกครองสามารถสาธิตประกอบอาหารเสริมโภชนาการเด็กได้


>