2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคตาแดง (Conjunctivitis) เป็นโรคทางตาที่พบได้บ่อยที่สุด สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้ใหญ่ ตลอดจนผู้สูงอายุ และมักเกิดในโรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำงาน สถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก และ โรคตาแดง มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน และระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ มักพบในช่วงฤดูฝน หรือน้ำท่วม และมักเกิดกับเด็กเล็ก ๆ จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อ ๆ เพราะมีเลือดออกที่เยื่อบุตาขาว น้ำตาไหลเจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย โดยอาจเป็นเมื่อกใสหรือสีเหลืองอ่อน จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ภายใน 1-2 ซึ่งก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา เจ็บตา มีขี้ตา ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ ในบางคนอาจเป็นตาดำอักเสบ จะมีอาการตามัวลงทั้ง ๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นอยู่นานหลายเดือน โรคตาแดง สามารถติดต่อได้ง่าย ๆ โดย การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อ โรคตาแดง จากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง การใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา แมงหวี่ หรือแมลงวันตอมตาไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้าโรคตาแดง จะไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน และอาการต่าง ๆ จะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน และระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2559 นี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 พฤษภาคม 2559 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยแล้ว 47,410 ราย และช่วงที่ฝนตกชุกเกือบทุกภาค บางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง การระบาดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสเนื่องจากสภาพอากาศที่ชื้นแฉะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสได้ง่าย
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาแย กาเตาะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดุซงญอจึงจัดทำโครงการ โรคตาแดงขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคตาแดง ให้กับครู และผู้ปกครองเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกัน และสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ในกรณีเกิดโรคตาแดงขึ้นกับเด็กนักเรียน และสามารถป้องกันการติดต่อ ไปสู่บุคคลอื่นต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 02/01/2023
กำหนดเสร็จ 29/09/2023
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลจาการดำเนินงานทำให้คุณครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้สามารถควบคุมป้องกันโรคตาแดงสามารถปฎิบัติได้ถูกต้อง สามารถป้องกันการติดต่อจากคนสู่คนได้ และลดอัตราป่วยด้วยโรคตาแดงได้