กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และโภชนาการสมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด

ชื่อองค์กร......ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด......
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ชื่อ นางสาวอัจฉราพรคงพรหม
ตำแหน่ง ครู ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด
เบอร์โทรศัพท์0๖-๕๖๐๕-๔๒๖๗
ที่อยู่ ๔๙๙ หมู่ที่ ๑ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

8.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

9.00

สืบเนื่องจากการจัดโครงการพัฒนาการสมวัยในรอบปีที่ผ่านมาจากการเก็บข้อมูล การประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้เครื่องมือ DSPM โดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน พบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด จำนวน ๒๐๐ คน มีพัฒนาการสมวัย 1๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๐๐และส่งเสริมพัฒนาการตามวัย จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๐๐ และจากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็ก จำนวน ๒๐๐ คน มีเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ จำนวน ๑๖๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๐๐ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 1๖ คน คิดเป็นร้อยละ 8.๐๐ น้ำหนักเกินเกณฑ์ ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ และจากการคัดกรองสุขภาพปากและฟัน พบว่า เด็กจำนวน ๒๐๐ คน มีฟันผุ จำนวน ๗๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๐๐ ฟันไม่ผุ จำนวน 1๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๐๐ สาเหตุมาจากก่อนที่เด็กจะมาเข้าเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด เด็กมีฟันผุมาจากบ้านก่อนแล้ว เนื่องจากการดูดนมจากขวด ผู้ปกครองขาดการดูแลเรื่องภาวะโภชนาการเกี่ยวกับฟัน
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและโภชนาการสมวัยขึ้น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการต่อเนื่องเกี่ยวกับพัฒนาการตามวัยและส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ ด้านสุขภาพอนามัยและโภชนาการเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากได้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

9.00 8.50
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

8.00 7.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและบุคลากรในโรงเรียน 16
ผู้ปกครองเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลค 120

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินโครงการ
  2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ครูและผู้ปกครองเด็กอายุ 2 – 5 ปี
  3. ตรวจประเมินพัฒนาการเด็กอายุ 2 – 5 ปี
  4. กระตุ้นพัฒนาการเด็กอายุ 2 – 5 ปี
  5. จัดทำฐานพัฒนาการเด็กอายุ 2 - 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  6. รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็กให้ผู้ปกครองทราบ งบประมาณ
  7. ค่าแบบประเมินพัฒนาการเด็ก จำนวน 100 เล่ม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน   6,000  บาท
  8. ค่าดินน้ำมันไร้สาร จำนวน 200 ก้อน ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน   3,000  บาท
  9. ค่าตู้ลำโพงเคลื่อนที่ ขนาด 15 นิ้ว จำนวน 3 ชุดๆ ละ 5,850 บาท เป็นเงิน 17,550  บาท
  10. ค่าคู่มือให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
    จำนวน 120 เล่มๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน   5400  บาท กิจกรรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง เป็นเงิน 6,900 บาท ๑. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๑×๓ เมตร    จำนวน 1 ป้าย           เป็นเงิน     ๔๒๐ บาท ๒. ค่าวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จำนวน ๒ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๒๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 2 - 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการ รักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33570.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าคู่มือให้ความรู้กับผู้ปกครอบเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมตามวัยสำหรับเด็ก จำนวน 120 เล่มๆ ละ 45 บาท                 เป็นเงิน   5400  บาท
  2. ค่าจัดทำอาหารเช้าให้เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ          เป็นเงิน  10000 บาท
  3. ค่าวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสมวัย  จำนวน ๒ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  1,200 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำวน 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 136 คน เป็นเงิน 4,080 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 2 - 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,250.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่างๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็ก 2 - 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
๒. เด็ก 2 - 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก


>