กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ 3 หมอ ใกล้ใจใกล้ชุมชน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส

นางกัลยาณี ดารามัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใสหมู่บ้าน/ชุมชน รวม 4 หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เป้าหมายหลักหรือผลผลิตของบริการปฐมภูมิที่สำคัญมี 2 ประการ คือ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค (Self care) และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม นั้น การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว กลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญคือการที่ทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คนทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้มีแนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ เข้มแข็ง มีคุณภาพ ทั่วถึง ยั่งยืนและบรรลุเป้าหมาย คือ การประสานการทำงานดูแลประชาชนที่บ้านและชุมชนแบบ “ดูแลใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” เพิ่มความครอบคลุมให้ได้รับบริการต่อเนื่อง ลดการเดินทาง ลดความแออัดของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และส่งต่อรักษาในโรคซับซ้อนยุ่งยาก โดยหมอคนที่ 1 หมอประจำบ้านคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหรือ อสม. ทำหน้าที่ เยี่ยมบ้าน ให้คำแนะนำ คัดกรอง ติดตามและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น หมอคนที่ 2 หมอสาธารณสุข คือ บุคลากรในสถานบริการปฐมภูมิ ทั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือ รพ.สต. คลินิกหมอครอบครัว ศูนย์บริการสาธารณสุข ครอบคลุมบุคลากรทุกสาชาวิชาชีพทั้งพยาบาล เภสัชกร นักสาธารณสุขชุมชน และวิชาชีพอื่นๆ ทำหน้าที่ให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพ ประสานงานระหว่างหมอคนที่ 1และหมอคนที่ 3 คัดกรองเพื่อระบุสาเหตุ ยืนยันความผิดปกติและส่งต่อผู้ป่วย และหมอคนที่ 3 หมอครอบครัวแพทย์ในโรงพยาบาล เป็นผู้มอบการรักษา ดูแล ให้คำปรึกษา ประสานและส่งต่อการรักษาพิเศษ โดยหมอครอบครัวโดย มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนให้ใกล้ชิดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น เน้นการเสริมสร้างสุขภาพ และความรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม มุ่งให้เกิดผลลัพธ์กับประชาชนทั้งด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต ในความสุขกาย สุขใจ สุขสามัคคีและปลอดภัยจากโรคโควิด 19 ในวิถีชีวิตใหม่อย่างเป็นรูปธรรมได้จริง จากการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน
นโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นการมุ่งสร้างระบบสาธารณสุขทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนดูแลสุขภาพ และมีที่ปรึกษาเมื่อเวลาเจ็บป่วย เน้นการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของ 3 หมอ เพื่อให้การช่วยเหลือ ดูแล รักษาและส่งต่อ ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายคนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน ของกระทรวงสาธารณสุข ส่งผลทำให้เกิดการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วม การประสานการทำงานดูแลประชาชนที่บ้านและชุมชนแบบ “ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” เพิ่มความครอบคลุมให้ได้รับบริการต่อเนื่องในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน เน้นการดูแลที่บ้านและชุมชน
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ผู้ดูแลสุขภาพระดับหมู่บ้านพัฒนาสู่การเป็น “หมอประจำบ้าน”
3. เพื่อเยี่ยมบ้าน ให้บริการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟู
4. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ หมอประจำตัว 3 คนให้มีการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 119
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 119
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้แกนนำด้านสุขภาพตามหลักสูตรหมอประจำบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้แกนนำด้านสุขภาพตามหลักสูตรหมอประจำบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

7.1 กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้แกนนำด้านสุขภาพตามหลักสูตรหมอประจำบ้าน จำนวน 2 วัน         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 64 คนX 25 บาท X 2 มื้อ X 2 วัน   เป็นเงิน 6,400 บาท         - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 64 คนX 50 บาท X 1 มื้อ X 2 วัน               เป็นเงิน 6,400 บาท
        - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน X 3 ชม. X 300 บาท X 2 วัน         เป็นเงิน 3,600 บาท 7.2 กิจกรรมที่ 2 จัดทำประชาคม เพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานเชิงรุก
        - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วม
        จำนวน 50 คนX 25 บาท X 1 มื้อ X 4 หมู่บ้าน   เป็นเงิน 5,000 บาท     7.3 กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมบ้านให้บริการตามแผนแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
        - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 คนX 25 บาท X 1 มื้อ X 24 ครั้ง  เป็นเงิน 4,500 บาท

 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,900 บาท (เงินสองหมื่นห้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน)<br />

หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

8.1 กลุ่มเป้าหมายที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค 8.2 กลุ่มเป้าหมายที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ที่ได้รับการเยี่ยมบ้านมีความรู้ด้านสุขภาพอนามัย 8.3 หมอประจำตัว 3 คน รับทราบปัญหาสุขภาพของบุคคลในครอบครัวและชุมชน 8.4  สามารถให้บริการแบบองค์รวมได้ครบถ้วนตรงปัญหา ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 กลุ่มเป้าหมายที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค
8.2 กลุ่มเป้าหมายที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ที่ได้รับการเยี่ยมบ้านมีความรู้ด้านสุขภาพอนามัย
8.3 หมอประจำตัว 3 คน รับทราบปัญหาสุขภาพของบุคคลในครอบครัวและชุมชน
8.4สามารถให้บริการแบบองค์รวมได้ครบถ้วนตรงปัญหา ส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น พึ่งตนเองได้


>