กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนารูปแแบบการดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ

รพ.สต.บ้านปากคลอง

1.นางวรลักษณ์ บุญจันทร์ศรี
2.นางจันทกานต์ คงฤทธิ์
3.นางพัชรินทร์ บุญพหุลา
4.น.ส.ธีรวรรณ สนู
5.น.ส.ผะเอิ้น ช่วยผดุง

หมู่1 ( เขตเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ )ตำบลมะกอกเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคมอย่างกว้างขวาง จากข้อมูลโรงพยาบาลมนารมย์ อธิบายว่า “ซึมเศร้า” ทางการแพทย์ หรือ Clinical depression หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า และเป็นพยาธิสภาพแบบหนึ่งที่พบได้ในหลายๆ โรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคทางอารมณ์ คือ โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder หรือ Depressive episode) และ โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) โรคทางอายุรกรรมบางโรค สารยาบางชนิดสามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าที่รุนแรงได้แต่การเข้าถึงบริการของประชาชน "โรคซึมเศร้า" ถือเป็นโรคทางด้านจิตเวชที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทย เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ปัจจัยทางชีวภาพหรือพันธุกรรม และ ปัจจัยด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อมอาการซึมเศร้านั้นมีด้วยกันหลายระดับตั้งแต่น้อยๆ ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ไปจนเริ่มมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และบางคนอาจเป็นถึงระดับของโรคซึมเศร้า อาการที่พบร่วมอาจเริ่มตั้งแต่รู้สึกเบื่อหน่าย ไปจนพบอาการต่างๆ มากมาย ดังได้กล่าวในบทต้นๆพญ.กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง จิตแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้อธิบายไว้ว่า วิธีการสังเกตว่า เราเอง หรือคนข้างกาย กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่นั้น สามารถสังเกตจาก 2 สิ่งใหญ่ๆ อย่างแรก คือ “อาการ” คือ กำลังเศร้า หดหู่ เบื่อหน่ายเกือบทั้งวัน และต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ อย่างที่สอง คือ “เสียการทำงาน” คือ การที่ไม่สามารถจะดำเนินชีวิต ทำงาน หรือใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ บางคนมีอารมณ์เศร้า ซึ่งอาจพูดไม่ได้ว่า ป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า” แต่หากเริ่มเสียการทำงาน ไม่เข้าสังคม การดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันแย่ลง ไม่กิน ไม่นอน ไม่รักษาสุขอนามัย ศักยภาพในการเรียน หรือการทำงานไม่ประสบความสำเร็จเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากขาดสมาธิ เป็นต้น โรคซึมเศร้าเป็นปัจจัยสำคัญของการฆ่าตัวตาย ผลวิจัยส่วนใหญ่พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่ทว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่า ซึ่งเมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรง พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย ช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คนพญ.อัมพร กล่าวว่า สถิติดังกล่าวเป็นสถิติย้อนหลังของปี 2563 ต่อมาที่ปี 2564 ได้มีการประมาณการสูงขึ้นใกล้ๆ กับ 8 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย และมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลความถี่ และวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก ก็เลยเป็นเป้าหมายของประเทศไทยที่จะต้องป้องกันไม่ให้อัตราการฆ่าตัวตายเกินไปกว่า 8 ราย ต่อ 100,000 ราย
จากข้อมูลการปฏิบัติงานใน ปี ๒๕๖5 พบว่า พบว่าการเข้าถึงการบริการโรคซึมเศร้ามีน้อย และการคัดกรองโรคซึมเศร้าของประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีน้อย อสม.ไม่สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองเบื้องต้นได้ ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม เป็นผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการเมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ไม่ได้พบจากการคัดกรอง ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัด ขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงในเขตเทศบาลตำบลมะกอกเหนือ ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านปากคลอง มีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอยู่ในเกณฑ์น้อย ทำให้การเข้าถึงบริการน้อยไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า “การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง” เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบประเมินคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus Plus ของกรมสุขภาพจิต


ดังนั้น เพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น โดยใช้แบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีความคิดฆ่าตัวตายหรือ 2Q Plus Plus ของกรมสุขภาพจิตอสม.ได้นำไปใช้กับชุมชนเพื่อช่วยหยุดยั้งและฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที

8.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มอัตราเข้าถึงบริการสุขภาพจิตของประชากรกลุ่มเป้าหมาย

ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินุสุขภาพจิตตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อเพี่มศักยภาพอสม.ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ด้วย 2QPlus ในกลุ่มเป้าหมาย

อสม.ได้รับการอบรม พัฒนาศักยภาพในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ด้วยแบบประเมิน 2QPlus และสามารถนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายได้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 417
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 81
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหากลุ่มเป้าหมายและวางแผนดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ค้นหากลุ่มเป้าหมายและวางแผนดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค้นหากลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และวางแผนดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้สูงอายุ 417 คน กลุ่มโรคเรื้อรังและติดสารเสพติด สุราเรื้อรัง 81 คน รวมประชากรกลุ่มเป้าหมาย 498 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู์แก่อสม. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ด้วยแบบประเมิน 2QPlus ในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู์แก่อสม. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ด้วยแบบประเมิน 2QPlus ในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการจัดอบรมให้ความรู์แก่อสม. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ด้วยแบบประเมิน 2QPlus ในกลุ่มเป้าหมาย โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่าง สำหรับ อสม.ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและ จนท.ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 55 คน คนละ 1 มื้อๆละ 25 บาทต่อคน เป็นเงิน 1,375 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร อบรม ให้ความรู้ และเพิ่มศักยภาพในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและสุขภาพจิตแก่ อสม. ชั่วโมงละ600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
3.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 3 เมตร ราคา ตารางเมตรละ 180 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน648 บาท
4.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า2Q Plus 9Q8Q แผ่นละ 1 บาท จำนวน 500 แผ่น เป็นเงิน500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2566 ถึง 2 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.ได้รับการอบรม พัฒนาศักยภาพในการคัดกรองภาวะซึมเศร้า ด้วยแบบประเมิน 2QPlus และสามารถนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายได้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ90

...

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4323.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองซึมเศร้าในชุมชนและสถานบริการ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองซึมเศร้าในชุมชนและสถานบริการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ที่ผ่านการอบรม ลงพื้นที่เพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในกลุ่มเป้าหมายในชุมชน และเจ้าหน้าที่รพ.สต.คัดกรองและประเมินสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ด้วยคำถาม 2QPlus,9Q และ 8Qตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินุสุขภาพจิตตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้มีภาวะซึมเศร้าโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านผู้มีภาวะซึมเศร้าโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่รพ.สต.ติดตาม เยี่ยมบ้านพูดคุยให้กำลังใจ กลุ่มเป้าหมาย ที่มีภาวะซึมเศร้า ที่ได้ผ่านการคัดกรอง 2QPlus จาก อสม. เพื่อติดตามประเมิน 9Q 8Q ต่อและวางแผนการส่งต่อตามระบบของ รพ.ควนขนุน และติดตามต่อเนื่องเมื่อได้รับการส่งกลับจากโรงพยาบาล ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซึมเศร้า ได้รับการประเมิน 9Q 8Q โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และได้รับการส่งต่อเพื่อพบพยาบาลจิตเวช รพ.ควนขนุน เพื่อเข้าระบบการรักษา และติดตามเยี่ยมบ้านหลังการรักษา ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,323.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและเข้าถึงการบริการสุขภาพจิต เพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีและป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ


>