กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนห้องเรียนกัมปงสืบค้นทักษะชีวิต ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

ห้องเรียนกัมปงตำบลสะเอะ

1.นส.สากีนาดีสุมะ
2.นส.ซาธิดา เจ๊ะโซะ
3.นายซูฮัยนูรดีน กานา
4.นายอับดุลฮาฟีซ หะมิมะดิง
5.นายสุภัสศร กาซอ

ห้องเรียนกัมปงตำบลสะเอะ และพื้นที่ชุมชนตำบลสะเอะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 12 - 25 ปี มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

 

57.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มมั่วสุม ติดเกมส์

 

69.00
3 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12 - 25 ปี มีทักษะในการจัดการอารมณ์เมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ

 

48.00

จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กนอกระบบจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ.ร่วมกับห้องเรียนกัมและสภาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลสะเอะ จำนวน 109 คน สาเหตุการหลุดออกจากระบบมีหลากหลาย สาเหตุแรก ๆ คือความยากจนต้องช่วยครอบครัวไม่สะดวกในการเดินทางเพราะบ้านอยู่ไกลโรงเรียน ต้องย้ายบ้านบ่อย ติดเพื่อนหรือ ติดยาเสพติด ตั้งครรภ์และตั้งครอบครัวเรียนไม่รู้เรื่อง หลายคนออกจากโรงเรียนแล้วการอ่านเขียนยังใช้ไม่ได้ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งคือไม่คุ้นกับภาษาไทยที่เป็นสื่อการเรียนการสอนด้วยภาษาแม่คือภาษามลายูถิ่น ฯลฯ สรุปได้ว่าแม้รัฐจะ “บังคับ” ให้เรียน และมีแรงจูงใจ เช่น อาหารกลางวันฟรี ก็ตามทีแต่ความไม่สะดวก ความเบื่อหน่าย และสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กและเยาวชนถอนตัวออกจากระบบ จากการสอบถามเบื้องต้นถึงความต้องการของเด็กนอกระบบการศึกษา พบว่ามีความต้องการในด้านทุนการศึกษา การฝึกอาชีพ การอุปถัมภ์ดูแลครอบครัว การช่วยเหลือด้านกฎหมาย การให้การคุ้มครองสิทธิต่างๆ การส่งบำบัดรักษา การย้ายไปยังพื้นที่นอกจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพบว่าสาเหตุสำคัญร้อยละ 52.29 เกิดจากความยากจน 19.26 ถูกผลักออกจากนอกระบบ 14.67 ปัญหาครอบครัว 7.33 ไม่ได้รับสวัสดิการ ร้อยละ 4.58 ปัญหาสุขภาพมีความต้องการสนับสนุนทักษะทางสังคม ด้านการป้องกันปัญหายาเสพติดร้อยละ 45.87 ทักษะการจัดการอารมณ์ร้อยละ 4.36 ทักษะสุขภาพทางเพศ 1.83
เด็กและเยาวชนที่หลุดจากระบบการศึกษา บางคนจะว่างงานใช้เวลากับการเล่นเกมส์ บางคนเข้าสู่แรงงานนอกระบบ เช่นแรงงานก่อสร้างแรงงานเกษตร ซึ่งจะมีเป็นช่วงๆ เด็กและเยาวชนขาดความรู้ในสุขลักษณะในการดูแลตนเอง การขาดความรู้และทักษะทางสังคมส่งผลต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาวะ เช่น การมั่วสุมอบายมุก ทางเพศ การติดเกมส์ การจัดการอารมณ์ รวมถึงปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินโครงการกิจกรรมนี้เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา เยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหลุดออกจากนอกระบบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนอายุ 12 - 25 ปี ให้เพียงพอ

 

57.00 65.00
2 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มมั่วสุม ติดเกมส์

69.00 60.00
3 เพื่อเพิ่มเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 12 - 25 ปีให้มีทักษะในการจัดการอารมณ์เมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ

 

48.00 58.00
4 เพื่อเสริมสร้างทักษะครอบครัวในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและภาวะซึมเศร้า

 

25.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กและเยาวชน 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนเตรียมความพร้อม สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนเตรียมความพร้อม สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการดำเนินงาน การสำรวจกลุ่มเป้าหมาย ค่าใช้จ่าย  ป้ายไวนิล 1 ป้าย  ราคา  1,000.-  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แผนงานการดำเนินงาน
  2. กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 เสริมพลังใจ รักษ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
เสริมพลังใจ รักษ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ทำแบบสอบถามประเมินภาวะสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยง 2.กิจกรรมส่งเสริมความรู้ผ่านกระบวนการเพื่อเสริมสร้างพลังในการดูแลใส่ใจสุขภาพ ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ1 วัน ค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น 7,200.-บาทประกอบด้วย 1)ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม คณะทำงานและวิทยากร 1 มื้อๆละ 30 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน1,800.- บาท 2)ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม คณะทำงานและวิทยากร 2 มื้อๆละ 30 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท 3)ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 10 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ข้อมูลสุขภาวะเด็กและเยาวชนเพื่อประเมินสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง 2.ได้เอกสารประกอบการฝึกอบรม 25 ชุด 3.เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญของการรู้จักตัวเอง ทัศนคติและมุมมองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดการอารมณ์และความเครียดเมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ

ชื่อกิจกรรม
การจัดการอารมณ์และความเครียดเมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพจิตวัยรุ่น 2.กิจกรรมฝึกอบรมทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียดเมื่อต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ 1 วัน โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 7,200.- บาท ดังนี้ 1)ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม คณะทำงานและวิทยากร 1 มื้อๆละ 30 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน  1,800.- บาท 2)ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม คณะทำงานและวิทยากร 2 มื้อๆละ 30 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท 3)ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 18 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผลคัดกรองข้อมูลภาวะสุขภาพจิต/ซึมเศร้า 2.เด็กและเยาวชนเกิดทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียด ลดปัญหาภาวะซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 4 รู้คิด รู้ทัน ห่วงใยลูกหลาน ห่างไกลยาเสพติดและโรคซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
รู้คิด รู้ทัน ห่วงใยลูกหลาน ห่างไกลยาเสพติดและโรคซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เท่าภัยยาเสพติดและโรคซึมเศร้าโดยใช้กระบวนการครอบครัวในการเป็นเกราะคุ้มกันภัย1 วัน ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 10,200.-บาท ประกอบด้วย 1)ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม คณะทำงานและวิทยากร 1 มื้อๆละ 55 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,300.- บาท 2)ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม คณะทำงานและวิทยากร 2 มื้อๆละ 55 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,300.- บาท 3)ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2566 ถึง 24 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจและมีทักษะรู้เท่าทันภัยยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 5 ลานกีฬาสร้างสรรค์ ลานดนตรีสร้างสุข

ชื่อกิจกรรม
ลานกีฬาสร้างสรรค์ ลานดนตรีสร้างสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในช่วงเย็นของสัปดาห์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆละ 120 นาที ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย การใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมสุขภาพกายและใจ ประกอบด้วยลานกีฬา ลานดนตรีโดยมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าอุปกรณ์กีฬาและดนตรี จำนวน 4,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้อุปกรณ์กีฬาและเครื่องดนตรีส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย 2.เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ลดปัญหาการมั่วสุม 3.เด็กและเยาวชนหันมามีกิจกรรมทางกาย มีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินผลจากแบบสอบถามหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม 2.สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินงาน 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาและเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง มีทักษะและการรวมกลุ่มทางสังคมอย่างสร้างสรรค์ ลดปัญหาการมั่วสุมมีสุขภาพกายและจิตที่ดีและมีพื้นที่สร้างสรรค์ที่ปลอดภัย


>