กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายสุขภาพดีชีวีมีสุข (จินตลีลา)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กลุ่มส่งเสริมการออกกำลังกายชุมชนบ้านคอหงส์ 6

1. นางพัทนัย แก้งแพง 2. นางพวงรัตน์ สังฆมิตกล 3. นางยุพา นาคช่วย 4. นางจุรีรัตน์ รัตนสุข 5. นางอนงค์ สุกแก้วมณี

ชุมชนบ้านคอหงส์ 6 ตำบลคอหงส์ อำดภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI ตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

0.00
2 ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี

 

0.00

ปัจจุบันสังคมของคนในชุมชนเปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในชุมชน ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม ปัญหาทางสุขภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่เวลา ในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนหันไปพึ่งพาสินค้าที่จะทำให้สุขภาพดีจากสื่อต่างๆ เช่น ยาลดความอ้วน น้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นและมีราคาแพง ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพด้วยวิธีง่าย และได้ผลจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี ประกอบกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุกๆปี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชน องค์กร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ภาคประชาชน ตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญา และจิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพ ทำงานด้วยความสุข ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดี พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกาย คือ ให้คนไทยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายสร้างนำซ่อมของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ดังนั้นกลุ่มออกกำลังกายชุมชนบ้านคอหงส์ 6 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายสุขภาพดีชีวีมีสุข (จินตลีลา) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI และรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

0.00 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี

ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดี (ตามแบบประเมินความสุขคนไทย ของกรมสุขภาพจิต)

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ช่องทางต่างๆ เช่น กลุ่มไลน์ เว็บไซต์เทศบาล
  • ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินค่าดัชนีมวลกาย (BMI) วัดรอบเอว ก่อนเข้าร่วมโครงการ
  • ประเมินสุขภาพจิตของผู้เข้าร่วม (ตามแบบประเมินความสุขคนไทย ของกรมสุขภาพจิต)
  • จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายสุขภาพดีชีวีมีสุข (จินตลีลา)
  • มอบสมุดบันทึกสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อบันทึกข้อมูลสุขภาพ เดือนละ 1

ครั้งค่าใช้จ่าย
1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
3. ค่าสมุดบันทึกสุขภาพ จำนวน 30 ชุด x 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
4. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2.8 x 1.75 เมตร x 150 บาท เป็นเงิน 735 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3885.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและจิตใจสัปดาห์ละ 3 วัน ทุกวันจันทร์,พุธและศุกร์ เวลา 17.00 น.

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าจัดซื้อเครื่องเสียง จำนวน 1 ชุด x 4,800 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2. ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย จำนวน 1 คน x 300 บาท x 66 วัน (3 วัน/สัปดาห์) เป็นเงิน 19,800 บาท
3. ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,485.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น
2. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น


>