กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ภูเขาทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ภูเขาทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มเกล้าพยาบาล

1…………นายณัฐภณเดชพงษ์โชติ……………………
2…………นางสาวกมลทิพย์หลีเจริญ………………
3…………นางสุภนิดานิลบุตร………………………..
4…………นางสาวพรสุดาเดชพงษ์โชติ…………….
5…………นางพัสดาใจแก้ว……………………………

หมู่ 3 บ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง และหมู่ 4 บ้านไอกาเปาะ ตำบลภูเขาทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัจจุบัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทย ถึงแม้จะมีแผนงานที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ อันได้แก่ แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ แผนงานยุทธศาสตร์สุขภาพ กระทรวงสาธา

 

4.00

ปัจจุบัน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทย ถึงแม้จะมีแผนงานที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ซึ่งเป้าหมาย ที่สำคัญ คือ การจัดการโรคสำคัญ 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง แต่การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวในระดับปฏิบัติการ ยังมีความไม่ชัดเจนในเรื่องของรูปแบบ โดยเฉพาะบริบทของการให้การบริการ ซึ่งมีความแตกต่างจากการให้บริการกลุ่มโรคเฉียบพลัน ดังนั้น ควรมีการ ปรับปรุงระบบการให้บริการ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบท โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาของบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างถาวรไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สังคม ครอบครัวต้องรับภาระดูแลส่งผลให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกครอบครัวเปลี่ยนแปลงสูญเสียทรัพยากรบุคคลและเศรษฐกิจ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถป้องกันและปรับเปลี่ยนได้
จากการสำรวจประชากรในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มเกล้าพยาบาล ใน ปี 2565 พบว่ามีประชากรอายุมากกว่า 35 ปี ป่วยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่ม 10 ราย จากจำนวนประชากรอายุ 35 ปี ทั้งหมด 270 คน ร้อยละ 3.70 และพบว่าในประชากรที่เป็นโรคเรื้อรังอยู่แล้วไม่สามารถควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติได้ จำนวน3 รายคิดเป็นร้อยละ 1.1
จากปัญหาดังกล่าวที่พบในข้างต้นพบว่าหากปล่อยให้ภาวะโรคเรื้อรังคุกคามประชากรอยู่สิ่งที่จะตามมาคือโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases; CVDs) ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral arterial disease) เป็นโรคของความผิดปกติ ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขา ส่งผลให้เกิดแผลตามปลายมือปลายเท้า
ดังนั้นในปีงบประมาณ 2566 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่มเกล้าพยาบาลจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังตั้งแต่อายุ 30 ปี ขึ้นไป เนื่องจากปัจจุบันพบผู้ป่วยรายใหม่ที่มีอายุน้อยลง และประชากรอายุ 30 ปีขึ้นไปในหมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 4 ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จำนวน350 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อค้นหากลุ่มป่วยรายใหม่ส่งต่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็ว

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อเพื่อได้รับการรักษาทันทีร้อยละ 100

4.00 4.00
2 เพื่อลดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังในผู้ป่วยรายใหม่

มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลโรคติดต่อเรื้อรังไม่เกินร้อยละ 5

4.00 4.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเรื้อรังรายใหม่ และ ให้ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมโรคให้อยู่ในระดับปกติได้

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยดูจากผลดัชนีมวลกาย และน้ำหนักตัวที่ลดลง ร้อยละ 10

4.00 4.00

เพื่อค้นหากลุ่มป่วยรายใหม่ส่งต่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็ว

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย มีการชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดรอบสะโพก ผู้เข้าร่วมคัดกรองทุกราย
1.2 กิจกรรมย่อย เจาะตรวจค่าน้ำตาลปลายนิ้วและแจ้งผลการตรวจให้แต่ละรายทราบ 1.3 กิจกรรมย่อย แบ่งกลุ่มจากค่าระรับน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิต ออกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 14 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9250.00

กิจกรรมที่ 2 นำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจำนวน 40 คนเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
นำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยจำนวน 40 คนเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย 2.2 กิจกรรมย่อย นัดกลุ่มเป้าหมายชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวรอบสะโพก วัดความดันโลหิต และเจาะระดับน้ำตาล ก่อนทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2.3 กิจกรรมย่อย นัดกลุ่มเป้าหมายเดือนละครั้งเพื่อติดตามผลดัชนีมวลกาย BMI บันทึกผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 กิจกรรมย่อย นัดกลุ่มเป้าหมายพร้อมทั้งชี้แจงผลการปฏิบัติงานและผู้ที่มีดัชนีมวลกาย BMI ลดลง สรุปโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นจากฐานข้อมูลโรคติดต่อเรื้อรังไม่เกินร้อยละ 5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100
3.ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 5


>