กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เพิมทักษะการจัดการสุขภาพในชุมชนแบบองค์รวม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่

เจ้าหน้าที่และชมรม อสม.รพ.สต.บ้านคลองใหญ่
1.นางสุภาภรณ์ ไพชำนาญ
2.นางวรรณา เขียวแก้ว
3.น.ส.กรรณฺการ์ หีมเขียว
4.นางพิวงค์ แขกพงศ์
5.นางสุคนธ์ ไพชำนาญ

หมู่1,2และ9 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 39.12

 

39.12
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

จากการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานพบอัตราการเกิดต้อกระจก จำนวน 3 คน (ร้อยละ 4.83) มีแผลที่เท้าจากภาวะเท้าชา จำนวน 2 คน (ร้อยละ 3.33) และมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 4 คน (ร้อยละ 6.66

4.83

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพ และทำงานล้มเหลว เป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมถึงเป็นแผลง่ายหายยาก ชาปลายมือปลายเท้า
จากการดูแลผู้ป่วยเบาหวานใน รพ.สต.พบอัตราป่วยและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตาไต เท้า เพิ่มขึ้นทุกปี แต่อัตราการควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ทีควบคุมได้ยังค่อนข้างต่ำ
แนวทางการรักษาโรคเบาหวานมีทั้งการปรับเปลี่ยนจัดการพฤติกรรมสุขภาพ 3อ2ส.การเยี่ยมบ้าน การปรับยาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุขแต่ผู้ป่วยไม่สามารถที่จะจัดการพฤติกรรมสุขภาพให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่สามารถควบคุมให้ระดับน้ำตาลสะสมอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามเป้าหมายได้
ผู้รับผิดชอบงานจึงมีแนวคิดให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแรงจูงใจในการจัดการพฤติกรรมสุขภาพโดยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน การมีกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ มีทีมสหวิชาชีพเป็นพี่เลี้ยงในการสื่อสารข้อมูล รวมถึงการปรับแผนการรักษาเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเบาหวาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

4.83 3.00
2 ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับนำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย

HbA1C น้อยกว่า 7 มากกว่าร้อยละ 40

39.12 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยเบาหวาน 50
ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 65

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ งบประมาณ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คนๆละ25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท 2. รับสมัครสมาชิกที่สนใจ 3. ประเมินสภาวะผู้ป่วยให้ข้อมูลรายบุคคล สร้างแรงจูงใจ ตั้งเป้าหมายร่วมกับผู้ป่วย งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คนๆละ25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท 4. จัดตั้งกลุ่มเพื่อใช้สื่อสารในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ กลไกต่างๆของโรคเบาหวาน 2.การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพ การบริโภคที่ถูกต้อง การอดอาหารเป็นช่วง การเพิ่มกิจกรรมทางกาย การพักผ่อน การจัดการความเครียดและการหลีกเลี่ยงสุราและบุหรี่ 3. การพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังเบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย การดูแลสุขภาพเท้า งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30คน นจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน1,500บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500บาท 3. ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 3 การสร้างระบบกลไก

ชื่อกิจกรรม
การสร้างระบบกลไก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สร้างแกนนำต้นแบบการจัดการสุขภาพ
  2. การติดตามเยี่ยมบ้าน
  3. การจัดระบบให้คำปรึกษา
  4. ติดตามประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน 2 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเกณฑ์ HbA1C < 7ร้อยละ 40
2. ผู้ป่วยเบาหวานไม่มีโรคแทรกซ้อน
3.ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.เกิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มีแกนนำในการจัดการสุขภาพด้านโรคเบาหวาน


>