กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กบ้านควนสุขภาพดี ด้วยความร่วมใจจากครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กบ้านควนสุขภาพดี ด้วยความร่วมใจจากครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน

1.นางนฤมลโต๊ะหลัง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเบอร์โทร 081-4796366
2.นางเบญจมาภรณ์หลีเส็นตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการเบอร์โทร 086-4813643
3.นางอารีนี หมัดสะแหละ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการเบอร์โทร 081-0925942
4.นางสุกัญญา ลัสมานตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทร 086-0810676
5.นางสาวมุณา กฤติยาสกุล ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการเบอร์โทร 081-0995792

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาเด๊ะ,พื้นที่ หมู่ที่ 1 และ 4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาคน ซึ่งคนที่มีประสิทธิภาพต้องมีการมีการวางรากฐานที่ดีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คือมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ มีการดูแลครรภ์อย่างมีคุณภาพ มีการคลอดที่ปลอดภัย และได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัยซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ได้ผลดีนั้น ต้องมีการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ผ่านการเล่น จากการศึกษาในหลายๆการศึกษาพบว่าการเล่นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ เช่น ความคิด จินตนาการ ภาษาการเรียนรู้กฎระเบียบทางสังคม วัฒนธรรมการเล่นจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ ความคิด การกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ การแก้ไขปัญหาของเด็ก และช่วยในการพัฒนาจิตใจของเด็กให้เด็กรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีความสุขจากการเล่นซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาการบริหารสมองส่วนหน้า ให้รู้จัก “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้ แก้ไขปัญหาเป็น อยู่กับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็น”ดังนั้นการเล่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กนอกจากจะทำให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียดแล้ว ยังช่วยให้การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าซึ่งการทำให้เด็กมีทักษะทางสมองที่ดีได้ต้องผ่านการฝึกฝนซ้ำๆตลอดเวลา ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครองและคุณครูในศูนย์เด็กเล็กจึงจำเป็นต้องมีความรู้ในการส่งเสริมทักษะสมองเด็กอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสมตลอดช่วงวัย
จากการการศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็ก และพฤติกรรมสุขภาพของครอบครัวด้านอนามัยแม่และเด็กจังหวัดสตูล ปี 2565 พบ เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยรวมทุกด้านในครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ 65.40 หลังจากที่มีการกระตุ้นพัฒนาการพบว่าเด็กมีพัฒนาสมวัยคิดเป็นร้อยละ 85.33 และพบพัฒนาการด้านภาษาสงสัยล่าช้ามากที่สุด และจากการศึกษายังพบว่าพ่อแม่ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลเด็ก จะพบว่าผู้ปกครองให้เด็กๆ 0-5 ปีให้เด็กได้ใช้สื่ออิเลคโทรนิคประเภท โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แทบเลต มากกว่าวันละ๑ ชม. ในขณะที่การใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้แก่ เล่น วาดรูป ระบายสี ทำกิจกรรมนันทนาการต่างร่วมกับลูก อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที มีน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าเด็กขาดโอกาสการเล่นกลางแจ้งรวมไปถึงการได้ออกกำลังกายหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง ซึ่งส่งผลทำให้เด็กมีปัญหาภาวะโภชนาการไม่เหมาะสม โดยพบเด็กมีรูปร่างดีสมส่วนร้อยละ 66.53 และยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พ่อแม่ผู้ปกครองขาดความรู้ในการอบรมเลี้ยงเด็กที่ถูกต้อง ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยของกรมสุขภาพจิต ในปี 2559 ซึ่งพบว่า เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย (IQ) เพียง 94.47
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดทำ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เด็กบ้านควนสุขภาพดีเพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับบริการส่งเสริมพัฒนาการ การเสริมสร้างระดับสติปัญญา ให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เรียนรู้ การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กผ่านการเล่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ/โภชนาการสมวัย
  1. เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย≥ร้อยละ 85
  2. เด็ก 0-5 ปีมีรูปร่างดีสมส่วน ≥ร้อยละ60
0.00
2 เพื่อให้เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า/พัฒนาการล่าช้า ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

1.เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการ≥ร้อยละ 90
2.เด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ/ส่งต่อร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 225
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูดูแลเด็ก 3
ผู้ปกครองเด็ก 40
อสม.หมู่ที่ 1,4 ตำบลบ้านควน 49

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูความรู้ให้แก่ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูความรู้ให้แก่ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมพัฒนาศักยภาพและฟื้นฟูความรู้ให้แก่ อสม. เรื่อง การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และส่งเสริมพัฒนาการด้วยคู่มือ DSPM
1.1 ค่าอาหารกลางวันจัดอบรม อสม. จำนวน 49 คน มื้อละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 3,675บาท
1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจัดอบรม อสม. จำนวน49 คน มื้อละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,450 บาท
1.3 ค่าคู่มือสำหรับ อสม. จำนวน 49 คน เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 3,430บาท
2.ให้อสม.ติดตามประเมินโภชนาการเด็กในเขตรับผิดชอบทุก 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็ก 0-5 ปีได้รับการประเมินโภชนาการทุก 3 เดือน ร้อยละ 90
2.เด็ก 0-5 ปีมีรูปร่างดีสมส่วน ≥ร้อยละ60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9555.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ให้แก่ผู้ปกครองเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ให้แก่ผู้ปกครองเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ให้แก่ผู้ปกครองเด็ก
1.1 ค่าอาหารกลางวัน ในการประชุมผู้ปกครองจำนวน 40 คน มื้อละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมผู้ปกครอง จำนวน 40 คน มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
1.3 ค่าคู่มือสำหรับผู้ดูแลเด็ก จำนวน 40 คน เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
1.4 ค่าชุดประเมินพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 6 ปีจำนวน 1 ชุดเป็นเงิน 4,500 บาท (ถ้าผู้ดูแลเด็กสงสัยถึงพัฒนาการเด็กสามารถยืม จาก รพ.สต.บ้านควนได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการ≥ร้อยละ 85
2.เด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ/ส่งต่อร้อยละ 100
3.เด็ก 0-5 ปีมีรูปร่างดีสมส่วน ≥ร้อยละ60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมฟื้นฟูความรู้ให้แก่ครูผู้เด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมฟื้นฟูความรู้ให้แก่ครูผู้เด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมฟื้นฟูความรู้ให้แก่ครูเด็กปฐมวัยในการประเมิน การส่งเสริมพัฒนาการและ โภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1.1ค่าอาหารกลางวันสำหรับครูเด็กปฐมวัยจำนวน3คนมื้อละ 75บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 225บาท
1.2ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับครูเด็กปฐมวัย จำนวน3คน มื้อละ 25 บาทจำนวน2 มื้อ เป็นเงิน 150บาท
1.3ค่าคู่มือสำหรับครูเด็กปฐมวัย จำนวน 3 คน เล่มๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 210 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการ≥ร้อยละ 85
2.เด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ/ส่งต่อร้อยละ 100
3.เด็ก 0-5 ปีมีรูปร่างดีสมส่วน ≥ร้อยละ60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
585.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์เด็กดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์เด็กดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ขนาด 1 x 3 ม.ตร.ม. ละ 150 บาทป้ายละ450บาท จำนวน 4ป้าย เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กมากขึ้น
2.ผู้ดูแลเด็กมีความตระหนักและเข้าใจในการดูแลเด็กตามวัยมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัย≥ร้อยละ 85
2. เด็ก 0-5 ปีมีรูปร่างดีสมส่วน ≥ร้อยละ60
3.เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามและกระตุ้นพัฒนาการ≥ร้อยละ 90
4.เด็กที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ/ส่งต่อร้อยละ 100
5.เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนในเรื่่องของการดูแลเด็กมากขึ้น


>