กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการลดขยะ ลดโรคด้วยการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ หมู่ 4 ตำบลเทพา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดขยะ ลดโรคด้วยการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ หมู่ 4 ตำบลเทพา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

ธนาคารขยะ หมู่ที่ 4 ต.เทพา

1.นางกษมาเจะสนิ……………….
2.นางดาราสุวรรณโน……………
3.นางโนรีต่วนสุหลง…………….
4.นางอรวรรณสืบประดิษฐ์……
5.นางชุติมาพรมเล็ก…….

พื้นที่หมู่ที่ 4

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย คือ การจัดการขยะ ซึ่งแต่เดิมจะเกิดขึ้นเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ แต่ปัญหานี้ได้ขยายวงกว้างมากขึ้นในทุกเขตเมือง โดยแปรตามกับความเจริญและการขยายขนาดของเมือง ซึ่งสภาพเศรษฐกิจยิ่งดีมากขึ้นเท่าไรปัญหาขยะก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ในหลายประเทศจึงได้หันมาใช้วิธีนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล (Recycle) ซึ่งได้ผลดี ฉะนั้นแนวทางใหม่ในการจัดการขยะโดยการ รีไซเคิลน่าจะมีประสิทธิภาพดีสำหรับประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นการเสริมสร้างแนวคิดวิสัยทัศน์ และกระบวนการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่บุคลากรขององค์กรการเพิ่มขีดความสามารถที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่
นอกจากนี้กองขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคสารพัดชนิด เช่น ยุง แมลงวัน หนู และแมงสาบ โดยเฉพาะยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มเกิดการระบาดมากขึ้น การจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธีเป็นหนึ่งในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
โครงการนี้เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ชุมชน และภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในทุกภาคส่วน และทุกครัวเรือน โดยการจัดกิจกรรมเชิงรุกตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ปลูกจิตสำนึก การรณรงค์ การฝึกอบรมให้ความรู้ และการคัดแยกขยะในชุมชนและครัวเรือน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนได้มีรายได้เสริมจากขยะที่ได้จากชุนชมและครัวเรือน บางส่วนนำกลับไปใช้ทางการเกษตรเป็นการคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและคณะกรรมการธนาคารขยะ หมู่ 4 บ้านท่าดีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการลดขยะ ลดโรคด้วยการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ หมู่ 4 ตำบลเทพา” ขึ้นเพื่อลดอัตราการเกิดขยะ อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอย

 

75.00 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนจัดการขยะอินทรีย์อย่างถูกต้อง

 

0.00 80.00
3 เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

 

75.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์.ขนาด 1x2.5 เมตร ราคา 500 บาท x 2 ผืน = 1000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูเรื่องการคัดแยกขยะและการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมฟื้นฟูเรื่องการคัดแยกขยะและการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1x2.5 เมตร ราคา 500 บาท x 1 ผืน = 500 บาท
    • ค่าอาหารว่าง...25..บ.x 100 คน x 2 มื้อ = 5,000 บาท
    • ค่าอาหารเที่ยง...50..บ.x100 คน= 5,000 บาท
    • ค่าวัสดุอบรมเช่น แฟ้ม ปากกา สมุด ชุดละ 30..บx 100 คน=3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะของหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะของหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเอกสารบัญชีเงินฝาก 100 ชุด x 10 บาท=1,000 บาท
    • ค่าใบรับสมัครสมาชิก 1บ. X 100 ใบ =100 บาท
    • ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่ประสบการณ์การจัดการขยะในครัวเรือน และชุมชนสู่สาธารณะ 25 บาท.x 40 คน x 1 มื้อ
      = 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้และตระหนัก มีจิตสำนึก ให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ตลอดจนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
2. ขยะมูลฝอยและถุงพลาสติกในชุมชนมีปริมาณลดลง ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาดน่าอยู่
3. เพื่อให้ธนาคารขยะในชุมชนที่มีอยู่เดิม ได้ดำเนินการการจัดการขยะที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
4. ชุมชนมีระบบการบริหารและจัดการขยะในชุมชนที่มีมาตรฐาน


>