กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคNCDsบ้านพรุหมาก-เกาะครก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

คณะกรรมการหมู่ 3 บ้านพรุหมาก-เกาะครก

1.นายพงษ์เดช มูณี
2.นางสาวปัทมาอิแอ
3.นายหาหมัดบูเอียด
4.นางพนารัตน์ศรีนาม
5.นางฟารีด๊ะประดิษฐ์

หมู่ 3 บ้านพรุหมาก-เกาะครก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกถึงปีละ 38 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิต ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรคไม่ติดต่อNCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยเป็นโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตปีละกว่า 300,000 คน และคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปี สะท้อนภาพการสูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควร ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมที่เสียไปแล้ว นับว่าสูงมากถึงร้อยละ 40 ของมูลค่างบประมาณภาครัฐไทยทั้งหมดสำหรับประเทศไทยมีข้อมูลชัดแล้วว่าขณะนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด หรือประมาณ 320,000 คนต่อปีโดยในทุก1 ชั่วโมงจะมีผู้เสียชีวิต 37 ราย ทั้งนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดสมอง รองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด โรคทางเดินหายใจอุดกั้น เบาหวาน และความดันโลหิตสูงตามลำดับ
คณะกรรมการหมู่บ้านพรุหมาก-เกาะครกเล็งเห็นความสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนกลุ่มวัย 35 ปีขึ้นไปเนื่องจากมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ประชาชนมีค่าดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐาน และประชาชนที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวแล้ว ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตสูงได้ เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อัมพฤต อัมพาต ไตวายเฉียบพลัน แผลเบาหวานเรื้อรัง เป็นต้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงเพิ่มสูงขึ้น
คณะกรรมการหมู่บ้านพรุหมาก-เกาะครก จึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในทุกๆ ด้าน ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของประชาชนไปสู่เป้าหมาย ให้ประชาชนมีสุขภาพดี ยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ลดโรค ได้

ประชาชนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ลดโรค เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90

80.00 90.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมเหมาะสม เพิ่มขึ้น

.ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ไม่เกิดโรค ร้อยละ 80

75.00 80.00
3 ประชาชนกลุ่มป่วย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ประชาชนกลุ่มป่วย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 80

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 25 บ. X 150 คนx 5 ครั้ง = 18,750 บ.
    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ จำนวน 1,500 บาท
  • ค่าวัสดุ สาธิตในการทำกลุ่ม =1,000 บาท ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 0.8 เมตร จำนวน 1 ป้าย = 500 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฟิตให้สุด หยุดที่...ใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฟิตให้สุด หยุดที่...ใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เกียรติบัตรเชิดชูผู้เต้นบาสโลบ จำนวน 20 ชุด ชุดละ 35บาท เป็นเงิน 700 บาท
  • เกียรติบัตรเชิดชู บุคคลต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 50 ชุดๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรม ลดโรค ได้
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมเหมาะสม เพิ่มขึ้น
3. ประชาชนกลุ่มป่วย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน


>