กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านปากทุ่ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เทพา

ชมรมผู้สูงอายุบ้านปากทุ่ง

1. นางสาวรอฝีอะแก้วชุมศิลป์
2. นางรัมละหัดสหมัด
3. นางจรินคงยัง
4. นางสุภาเส้งเจี้ยว
5. นางสาวหวุนกับหมัด

หมู่ที่8 บ้านปากทุ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นับแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมา โดย1 ใน 10 ของประชากรไทยเป็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ.2564 คือประชากรสูงอายุจะมีถึง 1 ใน 5 และเป็น”สังคมสูงวัยระดับสุดยอด”โดยประมาณการว่าจะมีประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด และในปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 85 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด คือ ผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งผู้อื่น(กลุ่มติดสังคม) อีกร้อยละ 14 เป็นผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งผู้อื่นบ้างในการประกอบกิจวัตรประจำวัน(กลุ่มติดบ้าน) และต้องพึ่งพาผู้อื่นทั้งหมดร้อยละ 1 ซึ่งอายุมากกว่า 80 ปี และมีแนวโน้มสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่าประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้น แต่พบว่าผู้สูงอายุต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและตกอยู่ในภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้น โดยพบว่า ผู้สูงอายุไทยมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 26 เท่านั้นและร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุจะมีปัญหาสุขภาพโดยมีความเจ็บปวดด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด (ร้อยละ 41) รองลงมาคือเบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม ข้อเสื่อมและซึมเศร้าตามลำดับ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม
กลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถเข้าถึงและพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนได้ดีที่สุด แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ากลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในบางพื้นที่ยังขาดความเข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม กล่าวคือบางกลุ่มเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นของการรวมตัว หรือบางกลุ่มแม้จะมีการรวมตัวกันมานานแล้วแต่ขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
สำหรับชมรมผู้สูงอายุหมู่ 8 ตำบลเทพา เป็นชมรมที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่พ.ศ.2562 และในปัจจุบันมีกิจกรรมที่ดำเนินมาแล้วดังนี้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจาการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ยังมีอุปสรรคและต้องการการพัฒนาเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งในการแก่กลุ่ม หรือชมรมผู้สูงอายุในเรื่องดังต่อไปนี้สร้างความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุ และพัฒนาศูนย์บริวารในการสร้างความเข้มแข็งของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลเทพานอกจากนี้จากข้อมูลผู้สูงอายุตำบลเทพา มีจำนวนทั้งหมด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ

การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในชมรมสัดส่วนร้อยละ ๘๐

0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้

มีการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 6 ครั้ง

70.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ 100 ของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์ปีละ 1 ครั้ง

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดทำแผนสุขภาพของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดทำแผนสุขภาพของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน X 25 บาท= 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยสูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยสูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆละ 6 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่ากระดาษบรูฟ 50 แผ่นๆ10 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าดินสอสี 10 กล่องๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท -ค่ากระเป๋าผ้าดิบ จำนวน 60 ใบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ชุดแม่สีอะคลิลิค กันน้ำ 6 ขวด 240 ml ราคาชุดละ 600 บาทจำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 1200 บาท -ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมงๆละ 500 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14700.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าเอกสารสรุปโครงการ
จำนวน 1 เล่ม ๆละ 200 บาท
เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
2. ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
3. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน


>