กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะเปียก ลดโลกร้อน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุคิริน

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน

องค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของปริมาณขยะเปียกในครัวเรือน

 

80.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

1,048.00
3 ร้อยละของปริมาณขยะเปียกในครัวเรือน

 

80.00

ตามที่ จังหวัดนราธิวาส ที่นธ oo๒๓.๓/ว๔๗๗๒ เรื่อง การขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมรัฐภาคี กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๖ (COP๒๖) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ว่า “ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ. ๒๐๕๐) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดําเนิน โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยให้จังหวัดส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดทําถังขยะเปียกให้ครบทุกครัวเรือน รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือน ลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่นๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ ลดภาระค่าใช้จ่าย โดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดําเนินการขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจในประเทศไทย หรือ Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ และกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบการขึ้นทะเบียนโครงการฯ โดยมีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้พัฒนาหรือเจ้าของโครงการ ประกอบด้วยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ๓๖,๖๔๔,๓๐๙ ครัวเรือน โรงเรียน ๑,๗๐๑ แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑๘,๙๓๕ แห่ง โดยมีระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๙ หรือระยะเวลา ๗ ปี และคาดว่าจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ ๔๙๒,๒๑๒ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี องค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะขยะเปียก ลดโลกร้อน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน ประจำปี ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่น

ขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนในระดับท้องถิ่น

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
3.ค่าวิทยากรให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
4.ค่าป้ายไวนิล ขนาด1.2x2.4เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท
5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่ากระเป๋าผ้า จำนวน 50ใบx50บาท เป็นเงิน 2,500 บาท ค่าสมุด จำนวน 50เล่มx15บาท เป็นเงิน 750 บาท ค่าปากกา50แท่งx10บาท เป็นเงิน 500 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท 6.ชุดสาธิต ค่าถังขยะดำ+ฝาปิดขนาด15แกลลอน จำนวน 3ใบx129บาท เป็นเงิน 387 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,857 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2023 ถึง 31 พฤษภาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12857.00

กิจกรรมที่ 2 ยื่นติดตาม

ชื่อกิจกรรม
ยื่นติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการร่วมกับครัวเรือนต้นแบบจำนวนxxx ครัวเรือน 2.ค่าใช้จ่ายในการติดตามประเมินผล xxxบาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2023 ถึง 18 พฤษภาคม 2023
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,857.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกที่ถูกต้อง


>