กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋

นางฟารีฮัน อาแว

ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

39.80
2 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

 

70.53
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

32.26

เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีคุณภาพ คือ การให้ความรัก ความเข้าใจ และการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เด็กก่อนวัยเรียน เป็นวัยที่มีความสำคัญช่วงชีวิตหนึ่ง ของมนุษย์ เพราะเป็นวัยแห่งการพัฒนาความเป็นบุคคลในด้านต่างๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง สุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน มีความสำคัญ เนื่องจากวัยนี้เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนจึงมีความจำเป็นซึ่งปัจจุบัน เป็นที่น่าวิตกมาก เมื่อพบว่ามีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้า ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และสติปัญญา เนื่องจากสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ ที่สมวัย รวมทั้งการได้รับภูมิคุ้มกันด้านต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย ๐ - ๕ ปี เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต ซึ่งเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงเป็นวัยที่สำคัญที่เหมาะสมสำหรับการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูแลที่ดีและถูกต้อง กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายในเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วนร้อยละ 85 พัฒนาการสมวัยร้อยละ 85 ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ร้อยละ 90 และการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็ก 0-2 ปีร้อยละ 70
จากการดำเนินงานของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมาพบว่า เด็ก 0-5 ปี เมื่อดำเนินการชั่งน้ำหนักเด็กพบเด็กอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วนคิดเป็นร้อยละ 78.29 และมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าคิดเป็นร้อยละ 39.80 ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 70.53 และการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็ก 0-2 ปีร้อยละ 78.57 พบฟันผุคิดเป็นร้อยละ 32.26 ทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ได้เล็งเห็นความสำคัญและปัญหาของเด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพรอบด้านให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพดีครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ พัฒนาการสมวัยสูงดีสมส่วน ปราศจากฟันผุ และได้รับภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตาภาวะโภชนาการ

เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตาภาวะโภชนาการ

0.00
2 เพื่อให้เด็กในช่วงอายุ 9,18,30,42,60 เดือน มีการตรวจคัดกรองพัฒนาการ

เด็กในช่วงอายุ 9,18,30,42,60 เดือน มีการตรวจคัดกรองพัฒนาการ

0.00
3 เพื่อให้เด็กไทยอายุ 6-12 เดือนได้รับการเจาะเลือดตรวจ Hct

เด็กไทยอายุ 6-12 เดือนได้รับการเจาะเลือดตรวจ Hct

0.00
4 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น

เด็ก 0-5 ปีได้รับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น

0.00
5 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากร

เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เรื่องโภชนาการเด็ก พัฒนาการเด็ก สุขภาพช่องปาก และวัคซีนเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เรื่องโภชนาการเด็ก พัฒนาการเด็ก สุขภาพช่องปาก และวัคซีนเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายมีจำนวน 120 คนใน เดือน มีนาคม 2566
  • อาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 120 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 6,000.00 บาท
  • อาหารกลางวัน จำนวน 120 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 6,000.00 บาท
  • ค่าวัสดุการอบรม จำนวน 120 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 6,000.00 บาท
  • ไวนิลอบรมโครงการ จำนวน 1 แผ่น (ขนาด 1 ม.x3 ม.) เป็นเงิน900.00 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน1,800.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20700.00

กิจกรรมที่ 2 เจาะเลือดตรวจคัดกรองภาวะซีด (Hct) ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 12 เดือนและจ่ายแรกเกิดถึง 5 ปีได้รับการตรวจพัฒนาการทุกราย

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดตรวจคัดกรองภาวะซีด (Hct) ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 12 เดือนและจ่ายแรกเกิดถึง 5 ปีได้รับการตรวจพัฒนาการทุกราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดตรวจคัดกรองภาวะซีด (Hct) ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 12 เดือนและจ่ายแรกเกิดถึง 5 ปีได้รับการตรวจพัฒนาการทุกราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. เยี่ยมบ้านเด็กที่ผิดนัดวัคซีนทุกราย

ชื่อกิจกรรม
3. เยี่ยมบ้านเด็กที่ผิดนัดวัคซีนทุกราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมบ้านเด็กที่ผิดนัดวัคซีนทุกราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กแรกเกิด-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตาภาวะโภชนาการ
2. เด็กในช่วงอายุ 9,18,30,42,60 เดือน มีการตรวจคัดกรองพัฒนาการ
3. เด็กไทยอายุ 6-12 เดือนได้รับการเจาะเลือดตรวจ Hct
4. เด็ก 0-5 ปีได้รับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น
5. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากร


>