กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองสาธารณสุขและสิงแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า

1.นายรัฐการ ลัดเลีย

2.นายตรา เหมโคกน้อย

3.นายนายปรีชา ปันดีกา

4.นายเอกนรินทร์ ลัดเลีย

5.นายณรงค์ ปากบารา

พื้นที่ ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูลได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพสำหรับประชาชน ทุกคนมาอย่างต่อเนื่องและตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ2561ข้อ 10 (5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้อีกทั้งในปีงบประมาณ 2566 เเละตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๓ข้อ๑๐/๑เพื่อประโยชน์ ในการป้องกันและเเก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เเละคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ ๑๐ ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ ๑๒ มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธาณสุขกรณีเกิดโรคระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น นี้ยังพบว่ามีการระบาดของโรคไข้เลือดออก อยู่ ยังคงต้องเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มแข็ง
กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ได้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ และภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ 10 (5) ร้อยละ 15 เปอร์เซ็น เป็นเงิน 128,765บาท เพื่อที่จะจัดทำโครงการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ เเละเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพประชาชนในระหว่างเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้

ร้อยละ 85 ของประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมคุณภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพระหว่างและหลังเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

100.00
2 เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันสถานการณ์และทั่วถึง

ร้อยละ 85 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้รับช่วยเหลือ บรรเทาปัญหาความเดือดร้อน สนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพได้อย่างทันสถานการณ์

100.00
3 เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

อัตราการป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพลดลง

100.00
4 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

ร้อยละ100ของการสามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

ชื่อกิจกรรม
ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ 1.1กิจกรรมย่อยการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและดำเนินการแก้ไข กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ

1.1.1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและดำเนินการแก้ไข กรณีเกิดโรคระบาด

เช่น โรคไข้เลือดออก, โรคชิคุนกุนยา, โรคมือ เท้า ปากอุจจาระร่วงเฉียบพลัน มาลาเรีย ไข้หวัดนก โรคพิษสุนัขบ้า โรคโควิด-19 (COVID-19)ฯลฯ

1.1.2 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและดำเนินการแก้ไข กรณีเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม หมอกควัน ฯลฯ

วัสดุ/อุปกรณ์ ในการป้องกันควบคุมโรคหรือภัยพิบัติ

-ค่าตอบแทน สำหรับเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของ อปท. ที่ได้รับการแต่งตั้ง

-ค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม

-ค่าตอบแทนค่าวิทยากร

-ค่าใช้สอย เช่น ค่าเช่าสถานที่ เครื่องเสียง เป็นต้น

-ค่าพาหนะหรือชดเชยนํ้ามันเชื้อเพลิง

-ค่าจ้างเหมา(พ่นยุง)

-ค่าตอบแทนนอกเวลา

-ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์

-ค่าครุภัณฑ์ทางการแพทย์

-ค่าวัสดุเครื่องแต่งกาย

-ค่าป้ายประชาสัมพันธ์

-ค่าสื่อประชาสัมพันธ์

-ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็น

รวมเป็นเงิน 100,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีตามความจำเป็นและเหมาะสม

2.สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติได้รับการช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติตามความจำเป็นและเหมาะสม
3. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติตามความจำเป็นและเหมาะสม
4. สามารถแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉิน


>