กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชุมชนสุขภาพดี ปลอดขยะ ลดโรค หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

นางจารุวรรณ ช่วยบำรุง
นางสมหมาย ชูสวัสดิ์
นางนิกร เสาดำ
นางจุไร กิจพิทักษ์
นางสมจิตร บัวศรี

หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

 

30.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

35.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

15.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

0.00

การมีสุขภาพดีเป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการมีสุขภาพที่ดีของมวลมนุษยชาติ คือ ความเจ็บป่วยหรือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ กลไกการเกิดโรคของมนุษย์ต่างมีปัจจัยขั้นพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน คือ ชีวิตมนุษย์เอง เชื้อโรครวมทั้งพาหะนำโรคหรือสัตว์นำโรคต่างๆด้วย และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรค ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีบทบาทมากที่สุดสำหรับโรคติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อโรคและร่างกายมนุษย์ต่างต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมยังมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ด้วยโรคติดเชื้อเกิดจากเชื้อโรค และหรือสารที่สร้างจากเชื้อโรคนั้นๆความเจ็บป่วยที่สำคัญของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญเป็นปัญหาในพื้นที่ หมู่ที่ 11ตำบลหารเทา ประกอบด้วยโรคอุจจาระร่วงโรคไข้เลือดออก โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมือเท้าปาก เป็นต้น และเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้น การเกิดโรคติดต่อมีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ จะต้องควบคุมเชื้อโรคไม่ใช้มีการแพร่พันธุ์ที่มากพอจนถึงระดับที่จะก่อโรคได้สัตว์นำโรคหรือพาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยที่สุดและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการจัดการให้ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพแวดล้อมที่ที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยจะต้องสะอาดถูกสุขลักษณะซึ่งจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคสัตว์นำโรคหรือพาหนะนำโรค การปรับปรุงควบคุมหรือ รักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องปฏิบัติเป็นวิถีชีวิตประจำวันในการจัดการขยะชุมชนต้องกลับมาเริ่มต้นที่ระดับครัวเรือน ให้มีการจัดการขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะ โดยวิธีการลดปริมาณขยะคัดแยกขยะที่ต้นทางและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่โดยใช้หลัก 3 Rsคือ ลดการใช้ ( Reduce ) การนำมาใช้ซ้ำ ( Reuse ) การใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ( Recycle ) รวมทั้งการนำขยะไปใช้ประโยชน์และการจัดการขยะที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป
ชมรม อสม. หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทาจึงได้จัดทำโครงการประชาชนสุขภาพดี ปลอดขยะ ลดโรค ขึ้น เนื่องจากได้เล็งเห็นว่าควรมีการพัฒนาครัวเรือนในทุกหมู่บ้าน ให้สะอาด ปราศจากโรคภัย ด้วยการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาดูแลรักษาความสะอาด อาศัยความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยรณรงค์ปรับปรุงพัฒนารักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือน ชุมชน หมู่บ้านสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ และแหล่งน้ำสาธารณะ ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม เพื่อกรตุ้นและจูงใจให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและคงสภาพให้ต่อเนื่องยั่งยืน โดยการใช้กลวิธีสร้างจิตอาสาและพัฒนาเครือข่าย อันจะส่งผลให้ประชาชนมีมีอุบัติการและอัตราการเกิดโรคติดต่อลดลงอย่างเป็นรูปธรรม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

30.00 20.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

35.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

0.00 1.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

15.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์/การจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้ประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์/การจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์/ การจัดการขยะในครัวเรือน ชุมชน และการนำขยะไปใช้ประโยชน์มีค่าใช้จ่าย
- การประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าว เวที่ประชุมหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่อง
- จัดจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์ รณรงค์ โครงการ 2 ป้าย ขนาด 1.5 * 2.5 เมตร เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ รายละเอียด กิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ในการจัดการขยะอินทรีย์ ให้มีประโยชน์ในครัวเรือน โดยการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน พร้อมสาธิตวิธีการจัดทำถังขยะเปียกลดโรคอย่างถูกวิธี ให้กับแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รวมถึงประชาชนในพืนที่

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการจัดการขยะอินทรีย์ ให้มีประโยชน์ในครัวเรือน โดยการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน พร้อมสาธิตวิธีการจัดทำถังขยะเปียกลดโรคอย่างถูกวิธี ให้กับแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รวมถึงประชาชนในพืนที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการจัดการขยะอินทรีย์ ให้มีประโยชน์ในครัวเรือน โดยการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน พร้อมสาธิตวิธีการจัดทำถังขยะเปียกลดโรคอย่างถูกวิธี ให้กับแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) รวมถึงประชาชนในพื้นจำนวน 60 คน
- สาธิตการคัดแยกขยะอิทรีย์ในครัวเรือน พร้อมจัดทำถังขยะเปียกลดโรค การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ (วัสดุทำถังขยะรักษ์โลก ,วัสดุผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ และพันธุ์ผัก) จำนวน 60 ชุดๆละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
- จัดจ้างทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ป้าย ขนาด 1.5 * 2.5 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาทต่อมื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 70 บาทต่อมื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
- ค่าสมนาคุณตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าจัดทำเอกสาร ความรู้ แผ่นพับประชาสัมพันธ์ จำนวน 60 ชุดๆละ 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง มีครัวเรือนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโครงการนำร่อง ไม่น้อยกว่า50 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19650.00

กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์การแยกขยะและการจัดการขยะในครัวเรือน (การทำน้ำหมักชีวภาพ และการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์)

ชื่อกิจกรรม
การรณรงค์การแยกขยะและการจัดการขยะในครัวเรือน (การทำน้ำหมักชีวภาพ และการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การรณรงค์การแยกขยะและการจัดการขยะในครัวเรือน (การทำน้ำหมักชีวภาพ และการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนครัวเรือนในเขตพื้นที่ มีพฤติกรรมคัดแยกขยะอินทรีย์อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมตรวจประเมินบ้านจัดการสิ่งแวดล้อมและมอบรางวัลให้แก่บ้านที่จัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินบ้านจัดการสิ่งแวดล้อมและมอบรางวัลให้แก่บ้านที่จัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจประเมินบ้านจัดการสิ่งแวดล้อมและมอบรางวัลให้แก่บ้านที่จัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม
- ค่ารางวัลให้แก่บ้านที่จัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม จำนวน 6 รางวัลๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าน้ำมันในการออกเยี่ยมติดตาม ประเมินครัวเรือน จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีบ้านที่จัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรม สรุป ประเมินผลการจัดกิจกรรม แลกเปลียนเรียนรู้ และกิจกรรมรณรงค์การจัดการขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สรุป ประเมินผลการจัดกิจกรรม แลกเปลียนเรียนรู้ และกิจกรรมรณรงค์การจัดการขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปประเมินผลการจัดกิจกรรม แลกเปลียนเรียนรู้ และกิจกรรมรณรงค์การจัดการขยะในชุมชน จัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รณรงค์ และทำความสะอาด หมู่บ้าน พร้อมสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง
- ค่าจัดซื้อตะแกรงคัดแยกขยะในชุมชน จำนวน 2 ชุดๆ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
- ค่าวัสดุตลอดโครงการกระสอบคัดแยกขยะเอกสารต่างๆ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีการรณรงค์ทำความสะอาด อย่างน้อย 2 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 11 ตำบลหารเทา มีความรู้ และให้ความสำคัญในการจัดการขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง โดยการจัดทำถังขยะเปียกลดโรคในระดับครัวเรือน
2. ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รวมถึงประชาชนที่เข้าร่วมอบรมในโครงการ สามารถขยายผลการจัดทำถังขยะเปียกไปสู่ประชาชนในพื้นที่
3. จำนวนครัวเรือนในเขตพื้นที่หมู่ที่ 11ตำบลหารเทามีพฤติกรรมคัดแยกขยะอินทรีย์อย่างถูกต้อง โดยมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโรคในครัวเรือน ร้อยละ 85


>