กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดการความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 1 ,2 และ 9 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดการความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 1 ,2 และ 9 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านคลองใหญ่

นางพิวงค์ แขกพงศ์
นางสุคนธ์ ไพชำนาญ
นางสุธิณี อักษรพันธ์
นางหนูลี่ วงษ์เพชร
นายหร้อฮับ ด้วงสา

พื้นที่หมู่ที่ 1 ,2 และ 9ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

39.45
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

47.26

ภัยเงียบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง)ได้คุกคามชีวิตคนไทยจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการ และเสียชีวิตตลอดจนเป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต การมีมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วยการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอวและเจาะคัดกรองน้ำตาลในเลือดเพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโดยกลุ่มเป้าหมายต้องมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มสงสัยป่วยต้องได้รับการส่งต่อเพื่อคัดกรองโรคขั้นสูงขึ้นประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 , 2 และ 9 ตำบลคลองใหญ่ ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 402 คน คิดเป็นร้อยละ 98.53 จากการคัดกรองจะพบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน และพบกลุ่มสงสัยป่วย ข้อมูลจะเห็นได้ว่าแม้การคัดกรองภาวะสุขภาพจะเพิ่มขึ้นทุกปีแต่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยยังสูงขึ้นตามเช่นกัน การติดตามกลุ่มสงสัยป่วยอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการให้คำแนะนำ ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนหนึ่งส่งผลให้กลุ่มป่วยรายใหม่ลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นการคัดกรองยังเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี่กลุ่มที่ป่วยแล้วต้องได้รับการดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อจะได้ดูแลตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านคลองใหญ่ ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดกรองการดูแล เฝ้าระวัง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองความเสี่ยงมากกว่าร้อยละ 90

4.00 90.00
2 เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนด

เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามแนวทางที่กำหนด

4.00 90.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปานกลาง/ เสี่ยงสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

ผู้ที่พบความดันโลหิตมากกว่า 140/90mmHg ได้รับการติดตามภายใน 90 วัน

3.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 281
กลุ่มผู้สูงอายุ 131
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ
  2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน
  3. จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร 15 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น เทศบาลตำบลคลองใหญ่ผู้นำท้องถิ่น อสม.และภาคีเครือข่าย
  5. ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเสียงตามสาย วิทยุชุมชนฯลฯ
  6. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน    (ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 440 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 880 บาท
  7. แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม.มีส่วนร่วม
  8. จัดประชุมอสม.เชี่ยวชาญ ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การวัดส่วนสูง น้ำหนักและคำนวณดัชนีมวลก
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 14 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุ อุปกรณ์ และบุคลาการที่มีความรู้พร้อมให้บริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
880.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินงานตามโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ปฏิบัติการตามแผนปฏิบัติงานฯ โดยให้ อสม.นัดประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการคัดกรองในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
  2. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม.ประเมินและให้บริการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง  พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียน แยกกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic ค่าอาหารว่าง จำนวน 440 คนๆละ 25 บาท เป็น 11,000 บาท
  3. บันทึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงในโปรแกรม JHCIS
  4. กลุ่มป่วยโรคเบาหวานไปรับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า ที่รพ.ตะโหมด ตามแผนการตรวจคัดกรองที่กำหนด ค่าอาหารว่างสำหรับกลุ่มป่วย จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท ค่าอาหารว่างสำหรับบุคลากรในการติดตามผู้ป่วย จำนวน 15 คนๆละ 25  บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท ค่าอาหารกลางวันสำหรับบุคลากรในการติดตามผู้ป่วย จำนวน 15 คนๆละ 70  บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,050 บาท
  5. กลุ่มป่วยทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต ไขมันในเลือดสูงตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปีตามแผนที่กำหนด
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 ตุลาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปวิเคราะห์และประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สรุปผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค Metabolic แยกรายหมู่บ้านและคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หมู่บ้าน/ชุมชน อสม. เทศบาล ทราบภาวะของโรค เพื่อให้ได้มีส่วน
            ร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  2. รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชา  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงร้อยละ 90
2. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่าDTX>=100mg/dL) ได้รับการประเมิน 75g OGTT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
3. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการดูแล ส่งต่อ รักษา ลดอัตราตายจากภาวะโรคNCD
4. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจ ตา ไต เท้าตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 60 และ ได้รับการส่งต่อในรายที่พบภาวะผิดปกติ


>