กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำปำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำปำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากประ

หมู่ที่ 2,3,8,11 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยต่อแสนประชากรของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคโรคอุจจาระร่วง

 

1,046.80
2 อัตราป่วยต่อแสนประชากรของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคโรคไข้หวัดใหญ่

 

230.91
3 อัตราป่วยต่อแสนประชากรของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคโรคปอดบวม

 

153.94
4 อัตราป่วยต่อแสนประชากรของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคโรคมือ เท้า ปาก

 

46.18
5 อัตราป่วยต่อแสนประชากรของประชาชนที่ป่วยด้วยโรคโรคอาหารเป็นพิษ

 

30.79

โรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งแต่ละปีมีผู้ป่วยจำนวนมาก บางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อจึงนำมากำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งต้องเตรียมความพร้อมในการป้องกันและควบคุมโรค ต้องบูรณาการแผนงาน กิจกรรมและงบประมาณกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ๆ
จากข้อมูลผู้ป่วยในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากประ ปีงบประมาณ 2565 มีผู้ป่วยโรคติดต่อที่สำคัญ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคมือ เท้า ปาก โรคอาหารเป็นพิษมีอัตราป่วย 1,046.80 ,230.91, 153.94, 46.18, 30.79 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ซึ่งโรคดังกล่าวข้างต้น จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่าพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคของประชาชนไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้มีโรคระบาดเกิดขึ้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากประ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมความรู้ป้องกันควบคุมโรคติดต่อปีงบประมาณ 2566 เพื่อส่งเสริมความรู้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วและลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญในเขตรับผิดชอบ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

ผ่านคะแนนทดสอบความรู้ร้อยละ 60

55.00 55.00
2 จัดตั้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว

มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่

55.00 55.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่สำคัญ

อัตราป่วยด้วยโรคต่อที่สำคัญลดลง

100.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 55
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมส่งเสริมความรู้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
อบรมส่งเสริมความรู้การป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 55 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 2,750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม 55 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,750 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชม. x 600 บาท = 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการอบรม = 3,846 บาท (เช่น กระดาษ ปากกา เอกสารการอบรม)
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 2.8 เมตร = 504 บาท
    รวมกิจกรรมนี้ 13,450 บาท *ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 55 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องโรงติดต่อที่สำคัญ
2. มีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในพื้นที่
3. อัตราป่วยด้วยโรคต่อที่สำคัญลดลง


>