กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมผู้ปกครองสำหรับหนูน้อยฟันสวย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

1.นางโนรีฮา เจ๊ะมะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสาวสาลินี สาเมาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.นางมูรณี บินบอสอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางนูรไลลา บินหะมะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5.นางสาวฮานีซะห์ สาวนิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มนุษย์เรามีฟันด้วยกันทั้งหมด 2 ชุด ฟันชุดแรกเรียกว่าฟันน้ำนมมีอยู่ 20 ซี่ ซึ่งจะเริ่มเห็นในช่องปาก เมื่อเด็กเกิดแล้วประมาณ 6 เดือน และจะครบ 20 ซี่ เมื่อเด็กอายุประมาณสองขวบครึ่ง โดยอยู่ที่ขากรรไกรบน 10 ซี่ และขากรรไกรล่าง 10 ซี่ เด็กจะใช้ฟันน้ำนมเต็มที่ ประมาณ 3 ถึง 6 ขวบ จากนั้นฟันแท้จะทยอยกันขึ้นมา แทนที่ฟันน้ำนม โดยธรรมชาติ ฟันน้ำนมจะค่อย ๆ โยกและหลุดไปเอง ฟันแท้ซี่แรก จะเป็นฟันกรามใหญ่ ขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ จนถึงอายุประมาณ 12 ปี เด็กควรมีฟันแท้อยู่ในปาก ประมาณ 28 ซี่ ส่วนอีก 4 ซี่ที่เหลือ เป็นฟันกรามซี่สุดท้าย จะขึ้นระหว่างอายุประมาณ 18-25 ปี การขึ้นของฟันซี่นี้ อาจเร็วหรือช้า ยากง่ายต่าง ๆ กัน เมื่อขึ้นมาครบในขากรรไกร ทั้งบนและล่าง ซ้ายและขวาแล้ว จะทำให้เรามีฟันครบ 32 ซี่
ทุกคนคงต้องยอมรับว่า "ปาก" เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อทุกชีวิต ในช่องปากมีอวัยวะที่สำคัญ คือ เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดาน และลำคอส่วนต้น ฟัน จัดเป็นอวัยวะที่แข็งแรงที่สุดในร่างกาย โดยมีความแข็งแรงมากกว่ากระดูก เป็นอวัยวะเดียวที่ไม่มีการเติบโต เพิ่มขนาด หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่าง หลังจากขึ้นมาในช่องปากแล้ว แต่ฟันยังเป็นอวัยวะที่มีชีวิต รับความรู้สึก และเจ็บปวดได้ ถ้ามีการสึกกร่อน หรือทำลายช่องเนื้อฟันลง ฟันมีความสำคัญต่อชีวิต ตั้งแต่เป็นฟันน้ำนม ที่เริ่มขึ้นในวัยเด็ก จวบจนเป็นฟันแท้ที่จะอยู่กับเราไปจนกระทั่งถึงวัยชรา ถ้าหากเราเอาใจใส่ดูแล รักษาความสะอาด ด้วยการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษกับฟัน เช่น ขนมหวานเหนียวติดฟัน น้ำอัดลม เป็นต้น และที่สำคัญคือ ต้องใช้ฟันให้ถูกหน้าที่ คือ ฟันมีหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ช่วยในการออกเสียง และช่วยสร้างรอยยิ้มที่ประทับใจ และควรหาเวลาไปพบทันตแพทย์ เพื่อการบูรณะ และป้องกันความผิดปกติปีละครั้ง เพียงเท่านี้ เราก็จะมีสุขภาพฟันที่ดี
ดังนั้นคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกสุขภาพเด็กดี (WBC) ของสถานบริการสาธารณสุข เป็นสถานที่ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสพบเด็กและพ่อแม่เป็นระยะสม่ำเสมอเหมาะสมที่จะดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองคลินิกสุขภาพเด็กดีได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี ตำบลสากอ อำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็น
ความสำคัญของการดูแลช่องปากของทุกวัย จึงเห็นควรจัดทำโครงการฟันสะอาด สุขภาพดี เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์บุตรของตนเอง และผู้ปกครองเด็กคลินิกสุขภาพเด็กดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์ดูแลทันตสุขภาพ โดยได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร
  1. ร้อยละ  80 ของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร
  2. ร้อยละ  80 ของหญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปีมีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
  3. ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
80.00 80.00

2. เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลเด็กเกี่ยวกับการเช็ดทำความสะอาดช่องปากและการให้โภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็ก
3. เพื่อลดอัตราโรคฟันผุและการเกิดโรคปริทันต์ในหญิงตั้งครรภ์ คลินิกสุขภาพเด็กดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เตรียมความพร้อมของผู้ดำเนินการ

- จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ - เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.สากอ 2. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ ผู้ปกครองเด็ก และเด็กอายุ 0 – 5 ปี 3. จัดทำแผนปฏิบัติงาน 4. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 25 คน
2.กลุ่มผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี จำนวน 35 คน 3. สรุปผลการดำเนินงาน - ผู้ปกครองเด็ก และหญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการดูแลฟันและช่องปากอย่างถูกวิธี - เจ้าหน้าที่ และอสม.เยี่ยมติดตามสุขภาพฟันเด็ก

งบประมาณ 1. ค่าไวนิล
-ขนาด 300 X 100 cm X 1 ชุด เป็นเงิน900 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คนx 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่าวิทยากร 6 ชม x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 7.ค่าวัสดุการอบรม
-ชุดแปรงสีฟัน (แปรงสีฟัน ,แก้วน้ำพลาสติก,ยาสีฟัน) 80 บาทx 60 คน เป็นเงิน 4,800 บาท -ถุงผ้า 25 บาท x 60 คน เป็นเงิน 1,500 บาท รวมค่าวัสดุการอบรมทั้งสิ้น 6,300 บาท งบประมาณ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,800 บาท(หนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ80 ของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร
  2. ร้อยละ80 ของหญิงตั้งครรภ์และผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปีมีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
  3. ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,800.00 บาท

หมายเหตุ :
(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง และหญิงตั้งครรภ์ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรได้
2. ผู้ปกครอง และหญิงตั้งครรภ์ มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาช่องปากและฟัน
3. ผู้ปกครอง และหญิงตั้งครรภ์ มีฟันผุลดลง


>