กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สากอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

1.นางโนรีฮาเจ๊ะมะนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2.นางสาวสาลินี สาเมาะพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3.นางมูรณี บินบอสอพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4.นางนูรไลลาบินหะมะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
5.นางสาวฮานีซะห์ สาวนิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการเป็นเรื่องของการรับประทาน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหาร และโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียนเป็นวันที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกาย มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการรับประทานต่าง ๆ ที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็ก ซึ่งมีผลต่อนิสัยการรับปะทานของเด็กในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ที่ต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อช่วยให้เด็กได้อาหารที่ดีมีคุณค่าทางโภชนาการ และได้ปริมาณสารอาหารครบถ้วน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลูบี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมโภชนาการเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี และปัญหาเรื่องภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องดูแล แก้ไขกลุ่มนี้ เพื่อให้เด็กได้มีโภชนาการตามเกณฑ์อายุ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักวิธีการจัดสรร เมนูอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่ และครบตามเกณฑ์อายุเด็ก
  1. เด็กมีภาวะโภชนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น โดยการตรวจประเมินโภชนาการ ทุก ๆ 3 เดือน
  2. เด็กแรกเกิด – 72 เดือน มีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วน  ≥ ร้อยละ 70
80.00 80.00

1. เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักวิธีการจัดสรรเมนูอาหารให้ครบหลัก 5 หมู่ และครบตามเกณฑ์อายุเด็ก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เตรียมความพร้อมของผู้ดำเนินการ

- จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ - เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.สากอ 2. ตรวจคัดกรอง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะ และประเมินภาวะโภชนาการ 6 หมู่บ้าน 3. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการตามเกณฑ์ - สาธิตการจัดเมนูอาหาร 4. สรุปผลการดำเนินงาน - ผู้ปกครอง ได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการตามเกณฑ์ - เจ้าหน้าที่ และอสม.เยี่ยมติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

งบประมาณ 1. ค่าไวนิล
-ขนาด 300 X 100 cm X 1 ชุดเป็นเงิน900 บาท
2.ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก 1,000 บาท x 6 หมู่บ้าน เป็นเงิน 6,000 บาท 3.ค่าไม้วัดส่วนสูง 1,600 บาท x 6 หมู่บ้าน เป็นเงิน 9,600 บาท 4.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อx 50บาท x 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท 5.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 6.ค่าวิทยากร 6 ชม x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 7.ค่าเมนูสาธิตอาหาร
-เส้นขนมจีน 20 บาท -เนื้อปลา 30 บาท -หอมแดง 5 หัว 10 บาท -กระเทียม2 กลีบ 10 บาท -ตะไคร้1 ช้อนชา5 บาท
-ข่าอ่อน 1 ช้อนชา5 บาท -ผักตำลึงลวก1 ช้อนโต๊ะ 5 บาท -ซีอิ้วขาว 2 ช้อนชา 20 บาท -นมกล่องรสจืด 10 บาท รวมเป็นเงิน 115 บาท 8.ค่าแผ่นพับแสดงเมนูอาหาร จำนวน 50 แผ่น x 15บาท เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,965 บาท (สองหมื่นห้าพันเก้าร้อยหกสิบห้าบาทถ้วน) (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กมีภาวะโภชนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น โดยการตรวจประเมินโภชนาการ ทุก ๆ 3 เดือน
  2. เด็กแรกเกิด – 72 เดือน มีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วน≥ ร้อยละ 70
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25965.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,965.00 บาท

หมายเหตุ :
(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครอง ได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการตามเกณฑ์
2.เด็กได้รับการส่งเสริมโภชนาการให้เหมาะสมตามเกณฑ์
3.ภาคีเครือข่าย แกนนำมีความเข้มแข็ง สนับสนุนการดำเนินงานโภชนาการตามเกณฑ์


>